25491861105513_2112_IP:หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4ปี) หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2562)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
1.1 รหัสและชื่อหลักสูตร      
  ประเภทการขอรับทราบ   หลักสูตรปรับปรุง (หลักสูตรปรับปรุงแบบแยก)    
  จำนวนปริญญา   หลักสูตรปรับปรุง 1 ปริญญา  
  เลือกใช้เกณฑ์การประเมิน   2558    
  วัน/เดือน/ปี ที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ   27/03/2562  
  ปีการศึกษาที่สภาอนุมัติให้เปิดสอน   2562
   หลักสูตรสังกัดคณะ   มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง  
   เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.   2549  
   ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.   2559  
     
  1.1.1 ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4ปี)  
  1.1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Education Program in Teaching English  
  1.1.3 สถานที่จัดการเรียนการสอน : สถานที่จัดการเรียนการสอนอื่นๆ (โปรดระบุ):วิทยาเขตศรีล้านช้าง  
1.2 ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
  1.2.1 รูปแบบ :
ระดับ 
ปริญญาตรี 4 ปี : ปริญญาตรีทางวิชาชีพ
 
  1.2.2 หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ :
ปริญญาที่ 
หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ 
ชื่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ)  
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) 
ชื่อสาขาวิชา 
1เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดชื่อปริญญาของ กกอ.ศึกษาศาสตรบัณฑิตBachelor of Educationศษ.บ.B.Ed.การสอนภาษาอังกฤษ
 
1.3 ข้อมูลประกอบ :      
  1.3.1 วิชาเอก     ไม่มี  
  1.3.2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร : โครงสร้างหลักสูตร

3.1.2 โครงสร้างหลักสูตร

1.      หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

30

หน่วยกิต

(1)    กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

6

หน่วยกิต

(2)    กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

6

หน่วยกิต

(3)    กลุ่มวิชาภาษา

12

หน่วยกิต

(4)    กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์

6

หน่วยกิต

2.      หมวดวิชาเฉพาะ  ไม่น้อยกว่า

115

หน่วยกิต

(1)   กลุ่มวิชาเฉพาะทางพระพุทธศาสนา

                          - วิชาบังคับเรียน

                          - วิชาเลือกเรียน

18

12

6

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

(2)   กลุ่มวิชาชีพครูไม่น้อยกว่า

                         - รายวิชาชีพครู

                   - รายวิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

35

23

12

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

(3)   กลุ่มวิชาเฉพาะทางการสอนภาษาอังกฤษ

                         - วิชาบังคับเรียน

                         - วิชาเลือกเรียน

62

42

20

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

3.      หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า

6

หน่วยกิต

                           รวม

151

หน่วยกิต


รูปแบบ 
จำนวนหน่วยกิต 
ปริญญาตรี 4 ปี : ปริญญาตรีทางวิชาชีพ151

 
  1.3.3 ภาษาที่ใช้ : หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ)  
  1.3.4 การรับผู้เข้าศึกษา : รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ  
  1.3.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
 
  1.3.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว  

หลักสูตร 25491861105513_2112_IP:หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4ปี) หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2562)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
1.4 สถานภาพหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร    
  1.4.1 กำหนดเปิดสอน   ภาคเรียนที่ 1  ปี 2562  

เอกสารแนบ มติสภา
  • Copy
  • Delete (Del)
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_4
 
Name 
Date modified 
Size 
CouncilApprove.pdf
21/01/2020 15:46:402.66 MB
 
  1.4.2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  
 
ตำแหน่งทางวิชาการ 
ชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 อาจารย์กิตติพัฒน์ ทาวงศ์ษาวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: M.A. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์บรรจบ โชติชัยวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: ศศ.ม. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์ประดิษฐ์ ศรีโนนยางวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: M.A. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์พลภัทร อภัยโสวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: M.A. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์วันชัย สาริยาวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: ศศ.ม. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 
  1.4.3 อาจารย์ประจำหลักสูตร    
ตำแหน่งทางวิชาการ 
อาจารย์ประจำหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 อาจารย์กิตติพัฒน์ ทาวงศ์ษาวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: M.A. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์บรรจบ โชติชัยวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: ศศ.ม. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์ประดิษฐ์ ศรีโนนยางวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: M.A. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์พลภัทร อภัยโสวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: M.A. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์วันชัย สาริยาวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: ศศ.ม. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 
1.5 ระบบจัดการศึกษา    
  1.5.1 การจัดการศึกษาและโครงสร้างหลักสูตร   ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาค การศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์  
  1.5.2 การจัดการศึกษาฤดูร้อน   ไม่มี
 
       
     
   

25491861105513_2112_IP:หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4ปี) หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2562)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
1.6 ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้: Learning Outcomes)    
  1.6.1 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป    
   ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน
ลำดับที่ 
รายละเอียด 
[Collapse]หัวข้อ: 1.คุณธรรมจริยธรรม
 1มีหลักธรรมในการดำเนินชีวิต
 2มีวินัย เคารพในกฎหมายและสิทธิของคนอื่น ๆ
 3มีจิตใจเสียสละ ประพฤติตนเกื้อกูลต่อสังคม
[Collapse]หัวข้อ: 2.ความรู้
 1รู้จักกฎเกณฑ์ทางสังคม เคารพกฎหมาย และเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง
 2มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ และการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
 3เข้าใจในหลักเกณฑ์ธรรมชาติของมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม
 4ตระหนักรู้ในคุณค่าของศิลปะ ภาษาและวัฒนธรรมทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ
 5รู้หลักการดำเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา
[Collapse]หัวข้อ: 3.ทักษะทางปัญญา
 1ฉลาดรู้ที่จะปฏิบัติตนให้เกื้อกูลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
 2วิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์และสภาวการณ์ได้อย่างเหมาะสม
 3ฉลาดรู้ที่จะแสวงหาแนวทางการทำงานและดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุขและสร้างสรรค์
 4ฉลาดรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาการทำงาน และการติดต่อสื่อสาร
[Collapse]หัวข้อ: 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
 1มีภาวะผู้นำ รู้จักการใช้เหตุผล วางตนได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ
 2มีความเสียสละ บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม
 3มีการสอดส่อง และป้องกันไม่ให้เกิดการประพฤติมิชอบในองค์กรและสังคม
 4รู้จักวางแผนในการทำงาน และดำเนินตามแผนที่ได้วางไว้
[Collapse]หัวข้อ: 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
 1 มีความสามารถจัดกลุ่มความรู้ และคิดวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลขได้ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่าง คุ้นเคย สามารถติดตามเพิ่มพูนความรู้ในเทคโนโลยีอุบัติใหม่อย่างมีประสิทธิผล
 2มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ การจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลผ่านอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ สามารถใช้เครื่องมือเพื่อการสืบค้นข้อมูลที่ถูกต้อง ตระหนักถึงลิขสิทธิ์และประเด็นการคัดลอกผลงาน สามารถสร้างสรรค์และผลิตสื่อดิจิทัล มัลติมีเดีย และนวัตกรรมทางการสอนเพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย มีความสามารถในการสอนหรือการเรียนรู้ผ่านระบบเทคโนโลยี หรือแอพพลิเคชั่นที่ช่วยเหลือทางการสอน
 3มีความสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกใช้รูปแบบการสื่อที่สารที่เหมาะสม สามารถติดต่อสื่อสาร ประสานงานและทำงานผ่านระบบออนไลน์ซึ่งมีเครื่องมือและช่องทางที่หลากหลาย สำหรับบุคคลที่แตกต่างกันได้ มีความตระหนักถึงความปลอดภัยทางออนไลน์ การรู้จักป้องกันข้อมูลและภาพลักษณ์ส่วนตน ระมัดระวังและไตร่ตรองในการแบ่งปันข้อมูลและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทางออนไลน์
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน 
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)

 
  1.6.2 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาเฉพาะ    
     ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้ :Learning Outcomes)
ลำดับที่ (Ascending)
รายละเอียด 
[Collapse]หัวข้อ: 1.คุณธรรมจริยธรรม
 1รัก ศรัทธาและภูมิใจในวิชาชีพครูมีจิตวิญญาณและอุดมการณ์ความเป็นครูและปฏิบัติ ตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
 2มีจิตอาสา จิตสาธารณะ อดทน อดกลั้น มีความเสียสละ รับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่องานที่ได้รับมอบหมายทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ และสามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ประพฤติตน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ครอบครัว สังคมและประเทศชาติและเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
 3มีค่านิยมและคุณลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ การเคารพสิทธิและให้เกียรติคนอื่น มีความสามัคคีและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ใช้เหตุผลและปัญญาในการดำเนินชีวิตและการตัดสินใจ
 4มีความกล้าหาญและแสดงออกทางคุณธรรมจริยธรรม สามารถวินิจฉัย จัดการและ คิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรมด้วยความถูกต้องเหมาะสมกับสังคม การทำงานและสภาพแวดล้อม โดยอาศัยหลักการเหตุผลและใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม บรรทัดฐานทางสังคม ความรู้สึกของผู้อื่นและประโยชน์ ของสังคมส่วนรวม มีจิตสำนึกในการธำรงความโปร่งใสของสังคมและประเทศชาติต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น และความไม่ถูกต้อง ไม่ใช้ข้อมูลบิดเบือน หรือการลอกเลียนผลงาน
[Collapse]หัวข้อ: 2.ความรู้
 1มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเนื้อหาสาระด้านวิชาชีพของครูอาทิค่านิยม ของครู คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ จิตวิญญาณครู ปรัชญาความเป็นครูจิตวิทยาสำหรับครู จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการเรียนรู้เพื่อจัดการเรียนรู้และช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน หลักสูตรและวิทยาการการจัดการเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการศึกษา และการเรียนรู้การวัดประเมินการศึกษาและการเรียนรู้การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน และภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครูทักษะการนิเทศและการสอนงาน ทักษะเทคโนโลยีและดิจิทัล ทักษะ การทำงานวิจัยและวัดประเมิน ทักษะการร่วมมือสร้างสรรค์ และทักษะศตวรรษที่ 21 มีความรู้ความเข้าใจ ในการบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติจริงและการบูรณาการข้ามศาสตร์อาทิ การบูรณาการการสอน (Technological Pedagogical Content Knowledge: TPCK) การสอนแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรมและคณิตศาสตร์(Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community: PLC) และมี ความรู้ในการประยุกต์ใช้
 2มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเนื้อหาวิชาที่สอนและทฤษฎีสำคัญทางพระพุทธศาสนา สามารถวิเคราะห์ความรู้ และเนื้อหาวิชาที่สอนอย่างลึกซึ้ง สามารถติดตามความก้าวหน้าด้านวิทยาการและนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ผู้เรียน โดยมีผลลัพธ์การเรียนรู้และเนื้อหาสาระด้านมาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านความรู้ของแต่ละสาขาวิชา
 3มีความรู้เข้าใจชีวิต เข้าใจชุมชน เข้าใจโลกและการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่าง ทางวัฒนธรรม สามารถเผชิญและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสามารถนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและปรัชญาทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตน พัฒนางานและพัฒนาผู้เรียน
 4มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ตามมาตรฐาน
 5ตระหนักรู้ เห็นคุณค่าและความสำคัญของศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและ นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน พัฒนาผู้เรียน พัฒนางานและพัฒนาชุมชน
[Collapse]หัวข้อ: 3.ทักษะทางปัญญา
 1คิด ค้นหา วิเคราะห์ข้อเท็จจริง และประเมินข้อมูล สื่อ สารสนเทศจากแหล่งข้อมูล ที่หลากหลายอย่างรู้เท่าทัน เป็นพลเมืองตื่นรู้มีสำนึกสากล สามารถเผชิญและก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลง ในโลกยุคดิจิทัล เทคโนโลยีข้ามแพลทฟอร์ม (Platform) และโลกอนาคต นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และวินิจฉัยแก้ปัญหาและพัฒนางานได้อย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงความรู้หลักการทางทฤษฎีประสบการณ์ ภาคปฏิบัติค่านิยม แนวคิด นโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ บรรทัดฐานทางสังคมและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
 2สามารถคิดริเริ่มและพัฒนางานอย่างสร้างสรรค์
 3สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้จากการทำวิจัยและสร้างหรือร่วมสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ของผู้เรียนและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้างนวัตกรรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ แก่ชุมชนและสังคม
[Collapse]หัวข้อ: 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
 1เข้าใจและใส่ใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น มีความคิดเชิงบวก มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และทางสังคม
 2ทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำงานเป็นทีม เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้เรียน ผู้ร่วมงาน ผู้ปกครองและคนในชุมชน มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
 3มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อตนเอง ต่อผู้เรียน ต่อผู้ร่วมงาน และต่อส่วนรวม สามารถช่วยเหลือและแก้ปัญหาตนเอง กลุ่มและระหว่างกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์
 4มีภาวะผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพ มีความเข้มแข็งและกล้าหาญทางจริยธรรม สามารถชี้นำและถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชนและสังคมอย่างสร้างสรรค์
[Collapse]หัวข้อ: 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
 1มีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ การสังเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อเข้าใจองค์ความรู้ หรือประเด็นปัญหาทางการศึกษาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
 2สื่อสารกับผู้เรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง บุคคลในชุมชนและสังคม และผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยสามารถเลือกใช้การสื่อสารทางวาจา การเขียน หรือการนำเสนอด้วยรูปแบบต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารหรือนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสม
 3ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลหรือความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้การทำงาน การประชุม การจัดการและสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รับและส่งข้อมูลและสารสนเทศโดยใช้ดุลยพินิจที่ดี ในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลและสารสนเทศอีกทั้งตระหนักถึงการละเมิดลิขสิทธิ์และการลอกเลียนผลงาน
[Collapse]หัวข้อ: 6.วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้
 1สามารถเลือกใช้ปรัชญาตามความเชื่อในการสร้างหลักสูตรรายวิชา การออกแบบ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยีการสื่อสาร การวัดและประเมินผู้เรียน การบริหาร จัดการชั้นเรียน การจัดการเรียนโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน แหล่งการเรียนรู้แบบเปิด ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพบริบทที่ต่างกันของผู้เรียนและพื้นที่
 2สามารถในการนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ออกแบบกิจกรรม การจัดเนื้อหาสาระ การบริหารจัดการ และกลไกการช่วยเหลือ แก้ไขและส่งเสริมพัฒนา ผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และศักยภาพของผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่าง บุคคล ทั้งผู้เรียนปกติและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ หรือผู้เรียนที่มีข้อจำกัดทางกาย
 3จัดกิจกรรมและออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ เรียนรู้ ผ่านการลงมือปฏิบัติและการทำงานในสถานการณ์จริง ส่งเสริมการพัฒนาการคิด การทำงาน การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น โดยบูรณาการการทำงานกับการเรียนรู้และ คุณธรรมจริยธรรม สามารถประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนา ด้วยความความซี่อสัตย์ สุจริต มีวินัยและรับผิดชอบต่อผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนสำคัญที่สุด
 4สร้างบรรยากาศ และจัดสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน แหล่งวิทยาการ เทคโนโลยี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้มีความสามารถในการประสานงานและสร้างความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่ออำนวยความสะดวกและร่วมมือ กันพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้มีปัญญารู้คิดและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องให้เต็มตามศักยภาพ
 5สามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีทักษะศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการรู้เรื่อง ทักษะการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงานแบบร่วมมือ ทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ทักษะเทคโนโลยีและการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำทักษะเหล่านี้ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน และการพัฒนาตนเอง
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (Ascending)
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
 
 
  1.6.3 ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา    
 
ปีที่ (Ascending)
รายละเอียด 
1เป็นนักศึกษาครู : นักศึกษาได้รับการปลูกฝังความรู้คู่คุณธรรมผ่านกิจกรรมการอบรมพัฒนาจิตของมหาวิทยาลัย ได้เรียนรู้งานครูอันเป็นพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อหน้าที่ครู มีความรอบรู้ในงานครู เช่น งานธุรการในชั้นเรียน สามารถประสานงานในการออกตรวจเยี่ยมบ้านนักเรียน ประสานงานกับผู้ปกครองและชุมชนได้เรียนรู้การจัดการชั้นเรียน การจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อการเรียนรู้ในฐานะครูผู้สอนภาษาไทย
2เป็นผู้ช่วยสอน : นักศึกษาได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการวางตนเป็นครู เรียนรู้รายวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะความเป็นครู สามารถปฏิบัติการในฐานะผู้ช่วยครูในสถานศึกษา ได้แก่ ช่วยครูประจำชั้น ให้ความรู้และอบรมผู้เรียน ช่วยงานสอนภาษาไทย การผลิตสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย และการวัดประเมินผล อีกทั้งสามารถจัดโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการแบ่งปันความรู้
3เป็นผู้ร่วมสอน : นักศึกษาได้เรียนรู้วิชาภาษาไทยอย่างเข้มข้น สามารถบูรณาการความรู้ที่ได้ไปทดลองสอนในสถานศึกษา โดยบูรณาการความรู้ทั้งหมดมาจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาในสาขาวิชาการสอนภาษาไทย สามารถออกแบบการจัดบรรยากาศชั้นเรียนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุข จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลหรือนวัตกรรมทางการศึกษาที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนที่มีความแตกแต่งระหว่างบุคคล และเพื่อนำไปใช้พัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง
4เป็นครูสอน : นักศึกษาผ่านการปลูกฝังทั้งHard Skill และ Soft Skillตามสมรรถนะการเรียนรู้ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในหลักสูตร พร้อมในการปฏิบัติการสอนในหน้าที่ครูอย่างภาคภูมิ ดังปณิธานที่มหาวิทยาลัยกำหนดว่า “มีความรู้คู่คุณธรรม” และเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์พร้อมเผชิญต่อโลกภายนอกตามสโลแกนว่า “ส่งบัวบานสู่โลกกว้าง” ผ่านการฝึกจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาการสอนภาษาไทย สามารถวัดและประเมินผล นำผลไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน ทั้งสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันความรู้ และได้ผ่านกิจกรรมการสัมมนาทางการศึกษา

 
1.7 คุณสมบัติผู้เรียน
 

2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

          2.2.1 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

          2.2.2 ไม่เป็นผู้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

          2.2.3 ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางศีลธรรม เว้นแต่นักศึกษาตามโครงการศึกษาลักษณะพิเศษ

          2.2.4 ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ

          2.2.5 เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษา

          2.2.6 ไม่เคยถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาเดิม

          2.2.7 มีค่านิยมและเจตคติที่ดี และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพครู

      2.2.8 สอบผ่านข้อสอบวัดคุณลักษณะความเป็นครู และผ่านเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ/หรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการคัดเลือกที่มหาวิทยาลัยกำหนดในแต่ละปีการศึกษา

 
1.8 จำนวนนิสิต        
1.8.1 จำนวนนิสิต :  
 
ประเภทปริญญา(Ascending)
ชั้นปี
25622563256425652566
ปริญญาตรี 4 ปี : ปริญญาตรีทางวิชาชีพ13030303030
2030303030
300303030
40003030
A:รวม306090120120
B:จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะจบ0003030

   
  1.8.2 รูปแบบการศึกษา : แบบชั้นเรียน  
  1.8.3 ค่าใช้จ่ายต่อหัวต่อปี (สูงสุด)   31774.00  บาท (โครงการปกติ/รับตรง)
0.00  บาท (โครงการพิเศษ ถ้ามี)
 
1.9 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร    
 
3.1 การสำเร็จการศึกษา
3.1.1 ต้องเรียนให้ครบตามหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
3.1.2 ต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00
3.2 เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 หรือระเบียบที่มหาวิทยาลัยประกาศใหม่
 
1.10 เอกสารแนบ    
   
  • Move (F6)
  • Copy
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_10
 
Name 
Date modified 
Size 
มคอ2.pdf
26/05/2021 12:31:197.56 MB