25482201100604_2085_IP:หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2563)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา สถาบันการพลศึกษา
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาเขตเชียงใหม่
1.1 รหัสและชื่อหลักสูตร      
  ประเภทการขอรับทราบ   หลักสูตรปรับปรุง (หลักสูตรปรับปรุงแบบแยก)    
  จำนวนปริญญา   หลักสูตรปรับปรุง 1 ปริญญา  
  เลือกใช้เกณฑ์การประเมิน   2558    
  วัน/เดือน/ปี ที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ   27/04/2563  
  ปีการศึกษาที่สภาอนุมัติให้เปิดสอน   2563
   หลักสูตรสังกัดคณะ   คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาเขตเชียงใหม่  
   เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.   2548  
   ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.   2562  
     
  1.1.1 ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา (4 ปี)  
  1.1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Education Program in Physical Education  
  1.1.3 สถานที่จัดการเรียนการสอน : สถานที่จัดการเรียนการสอนอื่นๆ (โปรดระบุ):มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่  
1.2 ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
  1.2.1 รูปแบบ :
ระดับ 
ปริญญาตรี 4 ปี : ปริญญาตรีทางวิชาชีพ
 
  1.2.2 หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ :
ปริญญาที่ 
หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ 
ชื่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ)  
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) 
ชื่อสาขาวิชา 
1เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดชื่อปริญญาของ กกอ.ศึกษาศาสตรบัณฑิตBachelor of Educationศษ.บ.B.Ed.พลศึกษา
 
1.3 ข้อมูลประกอบ :      
  1.3.1 วิชาเอก     ไม่มี  
  1.3.2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร : โครงสร้างหลักสูตร

รูปแบบ 
จำนวนหน่วยกิต 
ปริญญาตรี 4 ปี : ปริญญาตรีทางวิชาชีพ138

 
  1.3.3 ภาษาที่ใช้ : หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย  
  1.3.4 การรับผู้เข้าศึกษา : รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ  
  1.3.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
 
  1.3.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว  

หลักสูตร 25482201100604_2085_IP:หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2563)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา สถาบันการพลศึกษา
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาเขตเชียงใหม่
1.4 สถานภาพหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร    
  1.4.1 กำหนดเปิดสอน   ภาคเรียนที่ 1  ปี 2563  

เอกสารแนบ มติสภา
  • Copy
  • Delete (Del)
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_4
 
Name 
Date modified 
Size 
CouncilApprove.pdf
28/05/2020 10:24:11280.43 KB
 
  1.4.2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  
 
ตำแหน่งทางวิชาการ 
ชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 อาจารย์ธนกร ปัญญาวงศ์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: กศ.ม. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์เปรม วาทบัณฑิตกุลวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: ศษ.ม. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์วิรัช ถนอมทรัพย์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ศษ.ด. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุธีรา ราษฎรินทร์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ปร.ด. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์อธิณัฎฐ์ พุทธพิมเสนวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: ศศ.ม. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 
  1.4.3 อาจารย์ประจำหลักสูตร    
ตำแหน่งทางวิชาการ 
อาจารย์ประจำหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 อาจารย์ธนกร ปัญญาวงศ์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: กศ.ม. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์เปรม วาทบัณฑิตกุลวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: ศษ.ม. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์วิรัช ถนอมทรัพย์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ศษ.ด. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุธีรา ราษฎรินทร์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ปร.ด. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์อธิณัฎฐ์ พุทธพิมเสนวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: ศศ.ม. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 
1.5 ระบบจัดการศึกษา    
  1.5.1 การจัดการศึกษาและโครงสร้างหลักสูตร   ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาค การศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์  
  1.5.2 การจัดการศึกษาฤดูร้อน   มี
                การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยภาคฤดู ร้อนมีระยะเวลาศึกษา ไม่น้อยกว่า 7 สัปดาห์
 
       
     
   

25482201100604_2085_IP:หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2563)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา สถาบันการพลศึกษา
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาเขตเชียงใหม่
1.6 ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้: Learning Outcomes)    
  1.6.1 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป    
   ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน
ลำดับที่ 
รายละเอียด 
[Collapse]หัวข้อ: 1.คุณธรรมจริยธรรม
 1มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา มีวินัย มีน้ำใจนักกีฬาและปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรและสังคม
 2ยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
 3เผยแพร่ อนุรักษ์ สืบสานทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยอย่างสุนทรี
 4ตระหนักรู้ในการสร้างเสริมการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ตลอดจนมีความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลง ของสรรพสิ่ง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณธรรม และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก
[Collapse]หัวข้อ: 2.ความรู้
 1มีความรอบรู้ ติดตามความก้าวหน้าก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้ง ภายในประเทศและสังคมพหุวัฒนธรรม
 2มีความสามารถในการประยุกต์เชื่อมโยง บูรณาการ ความรู้ในการพัฒนาตนเอง และสังคมอย่างสร้างสรรค์
[Collapse]หัวข้อ: 3.ทักษะทางปัญญา
 1สามารถแสวงหาความรู้ คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ
 2สามารถแก้ไขปัญหาโดยนำหลักวิชา ข้อมูล ข้อเท็จจริง มาใช้และอ้างอิงได้อย่างเหมาะสม
 3มีทักษะในการศึกษา ค้นคว้าสืบเสาะ แสวงหา และนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์
 4มีทักษะการคิดอย่างเป็นระบบสามารถตัดสินใจบนพื้นฐานข้อเท็จจริงที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่สังคมได้อย่างสร้างสรรค์
[Collapse]หัวข้อ: 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
 1บุคลิกภาพดี มีมนุษยสัมพันธ์เคารพ เห็นคุณค่าตนเองและผู้อื่น
 2ทำงานเป็นทีม มีภาวะผู้นำและผู้ตาม มีความรับผิดชอบ เสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน สังคม
 3ปฏิบัติตามระเบียบสังคมและเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม
[Collapse]หัวข้อ: 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
 1มีทักษะการเลือกใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
 2สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการติดต่อสื่อสารและการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงการเก็บข้อมูลการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้พัฒนาสังคม
 3ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในสังคม พหุวัฒนธรรม
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน 
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)

 
  1.6.2 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาเฉพาะ    
     ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้ :Learning Outcomes)
ลำดับที่ (Ascending)
รายละเอียด 
[Collapse]หัวข้อ: 1.คุณธรรมจริยธรรม
 1รัก ศรัทธา และภูมิใจในวิชาชีพครู มีจิตวิญญาณความเป็นครูและอุดมการณ์ความเป็นครู และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
 2มีจิตอาสา จิตสาธารณะ อดทน อดกลั้น มีความเสียสละ รับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่องานที่ได้รับมอบหมายทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ และสามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ประพฤติตน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ และเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
 3มีค่านิยมและคุณลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ การเคารพสิทธิ และให้เกียรติคนอื่น มีความสามัคคีและทํางานร่วมกับผู้อื่นได้ ใช้เหตุผลและปัญญาในการดําเนินชีวิตและการตัดสินใจ
 4มีความกล้าหาญและแสดงออกทางคุณธรรมจริยธรรม สามารถวินิจฉัย จัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรมด้วยความถูกต้องเหมาะสมกับสังคม การทํางานและสภาพแวดล้อม โดยอาศัยหลักการ เหตุผลและใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม บรรทัดฐานทางสังคม ความรู้สึกของผู้อื่นและประโยชน์ของสังคมส่วนรวม มีจิตสำนึกในการสร้างความโปร่งใสของสังคมและประเทศชาติ ต่อต้านทุจริตคอรัปชั่นและความไม่ถูกต้อง ไม่ใช้ข้อมูลบิดเบือนหรือการลอกเลียนผลงาน
[Collapse]หัวข้อ: 2.ความรู้
 1มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิดทฤษฎี เนื้อหาสาระด้านวิชาชีพครูอย่างกว้างขวางลึกซึ่ง มีความรู้ ความเข้าใจในการบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติจริงและบูรณาการข้ามศาสตร์
 2มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี เนื้อหาวิชาที่สอน สามารถวิเคราะห์ความรู้ และเนื้อหาวิชาที่สอนอย่างลึกซึ้ง สามารถติดตามความก้าวหน้าด้านวิทยาการและนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียน โดยมีผลลัพธ์การเรียนรู้และเนื้อหาสาระด้านมาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละสาขาวิชา
 3มีความรู้ เข้าใจชีวิต เข้าใจชุมชน เข้าใจโลกและการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒนธรรม สามารถเผชิญและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสามารถนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาผู้เรียน
 4มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามมาตรฐาน
 5ตระหนักรู้ เห็นคุณค่าและความสําคัญของศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและนํามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน พัฒนาผู้เรียน พัฒนางานและพัฒนาชุมชน
[Collapse]หัวข้อ: 3.ทักษะทางปัญญา
 1คิด ค้นหา วิเคราะห์ข้อเท็จจริง และประเมินข้อมูล สื่อสารสนเทศจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างรู้เท่าทัน เป็นพลเมืองตื่นรู้ มีสํานึกสากล สามารถเผชิญและก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล เทคโนโลยีข้ามแพลทฟอร์ม (Platform) และโลกอนาคต นําไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและวินิจฉัยแก้ปัญหาและพัฒนางานได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคํานึงถึงความรู้ หลักการทางทฤษฎี ประสบการณ์ภาคปฏิบัติ ค่านิยม แนวคิด นโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ บรรทัดฐานทางสังคมและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
 2สามารถคิดริเริ่มและพัฒนางานอย่างสร้างสรรค์
 3สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้จากการทําวิจัยและสร้างหรือร่วมสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้างนวัตกรรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนและสังคม
[Collapse]หัวข้อ: 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
 1เข้าใจและใส่ใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น มีความคิดเชิงบวก มีวุฒิภาวะทางอารมณ์และทางสังคม
 2ทํางานร่วมกับผู้อื่น ทํางานเป็นทีม เป็นผู้นําและผู้ตามที่ดี มีสัมพันธภาพที่ดีกับ ผู้เรียน ผู้ร่วมงาน ผู้ปกครองและคนในชุมชน มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
 3มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อตนเอง ต่อผู้เรียน ต่อผู้ร่วมงาน และต่อส่วนรวม สามารถ ช่วยเหลือและแก้ปัญหาตนเอง กลุ่มและระหว่างกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์
 4มีภาวะผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพ มีความเข้มแข็งและกล้าหาญทางจริยธรรม สามารถชี้นำและถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชนและสังคมอย่างสร้างสรรค์
[Collapse]หัวข้อ: 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
 1มีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ การสังเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อเข้าใจองค์ความรู้ หรือประเด็นปัญหาทางการศึกษาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
 2สื่อสารกับผู้เรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง บุคคลในชุมชนและสังคม และผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเลือกใช้การสื่อสารทางวาจา การเขียน หรือการนำเสนอด้วยรูปแบบต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารหรือนวัตกรรมต่างๆ ที่เหมาะสม
 3ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลหรือความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การทำงาน การประชุม การจัดการและสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รับและส่งข้อมูลและสารสนเทศโดยใช้ดุลยพินิจที่ดี ในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลและสารสนเทศ อีกทั้งตระหนักถึงการละเมิดลิขสิทธิ์และการลอกเลียนผลงาน
[Collapse]หัวข้อ: 6. ด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้
 1สามารถเลือกใช้ปรัชญาตามความเชื่อในการสร้างหลักสูตรรายวิชา การออกแบบ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยีการสื่อสาร การวัดและประเมินผู้เรียน การบริหารจัดการชั้นเรียน การจัดการเรียนโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน แหล่งการเรียนรู้แบบเปิดได้อย่างเหมาะสมกับสภาพบริบทที่ต่างกันของผู้เรียนและพื้นที่
 2สามารถในการนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ออกแบบกิจกรรม การจัดเนื้อหาสาระ การบริหารจัดการ และกลไกการช่วยเหลือ แก้ไขและส่งเสริมพัฒนา ผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และศักยภาพของผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งผู้เรียนปกติและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ หรือผู้เรียนที่มีข้อจำกัดทางกาย
 3จัดกิจกรรมและออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและการทำงานในสถานการณ์จริง ส่งเสริมการพัฒนาการคิด การทำงาน การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น โดยบูรณาการการทำงานกับการเรียนรู้และคุณธรรมจริยธรรม สามารถประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนา ด้วยความความซี่อสัตย์สุจริต มีวินัยและรับผิดชอบต่อผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนสำคัญที่สุด
 4สร้างบรรยากาศ และจัดสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน แหล่งวิทยาการ เทคโนโลยี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้ มีความสามารถในการประสานงานและสร้างความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่ออำนวยความสะดวกและร่วมมือกันพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้ มีปัญญารู้คิดและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องให้เต็มตามศักยภาพ
 5สามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีทักษะศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการรู้เรื่อง ทักษะการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงานแบบร่วมมือ ทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ทักษะเทคโนโลยี และการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำทักษะเหล่านี้ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน และการพัฒนาตนเอง
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (Ascending)
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
 
 
  1.6.3 ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา    
 
ปีที่ (Ascending)
รายละเอียด 
1มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทครู จิตวิทยาสำหรับครู และความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทางพลศึกษาและกีฬา มีทักษะและการสอนกีฬา สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ครู ผู้นำกิจกรรม ควบคุมดูแลนักเรียนอย่างมุ่งมั่น
2มีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตร การสร้างนวัตกรรมทางพลศึกษา รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มีความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้หลักวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว ระบบการทำงานของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ความปลอดภัยจากการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย มีทักษะกีฬาและการสอนกีฬา สามารถนำความรู้ไปใช้ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้ จัดการชั้นเรียน เสริมสร้างบรรยากาศการเรียน และสร้างความสุขในการเรียน
3มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์การสอนพลศึกษา การจัดการเรียนรู้พลศึกษา การวัดและประเมินการเรียนรู้พลศึกษา มีทักษะการฝึกและการจัดการกีฬา สามารถนำความรู้ไปใช้ในการออกแบบการสอนพลศึกษา การวัดและประเมินผลในรายวิชา การบริหารจัดการชั้นเรียน และร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาผู้เรียน
4มีความรู้ความสามารถในการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในวิชาชีพพลศึกษา สามารถบูรณาการเนื้อหาความรู้ วิชาเอกพลศึกษา วิชาชีพครู สู่การปฏิบัติหน้าที่ครูตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

 
1.7 คุณสมบัติผู้เรียน
 

1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า มีค่านิยมเจตคติที่ดีและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพครู สอบผ่านข้อสอบวัดคุณลักษณะความเป็นครู และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2562

2. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

3. เป็นผู้มีความประพฤติดี

4. คุณสมบัติอื่น ๆ ตามประกาศของมหาวิทยาลัย

 
1.8 จำนวนนิสิต        
1.8.1 จำนวนนิสิต :  
 
ประเภทปริญญา(Ascending)
ชั้นปี
25632564256525662567
ปริญญาตรี 4 ปี : ปริญญาตรีทางวิชาชีพ19090909090
2090909090
300909090
40009090
A:รวม90180270360360
B:จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะจบ0009090

   
  1.8.2 รูปแบบการศึกษา : แบบชั้นเรียน  
  1.8.3 ค่าใช้จ่ายต่อหัวต่อปี (สูงสุด)   17000.00  บาท (โครงการปกติ/รับตรง)
0.00  บาท (โครงการพิเศษ ถ้ามี)
 
1.9 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร    
 

           เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2562 ข้อ 34 คุณสมบัติของผู้สำเร็จการศึกษา

           (1) ใช้ระยะเวลาดังนี้

                (ก) หลักสูตรปริญญาตรี (4 ปี) สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 6 ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา

           (2) สอบได้ทุกรายวิชา มีจำนวนหน่วยกิตรวมครบตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร

           (3) ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00

           (4) ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมครบตามประกาศของมหาวิทยาลัย

 
1.10 เอกสารแนบ    
   
  • Move (F6)
  • Copy
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_10
 
Name 
Date modified 
Size 
มคอ2.pdf
16/07/2020 10:04:028.55 MB