25410041101102_2123_IP:หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2561)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะวิทยาศาสตร์
1.1 รหัสและชื่อหลักสูตร      
  ประเภทการขอรับทราบ   หลักสูตรปรับปรุง (หลักสูตรปรับปรุงตามกำหนดรอบปรับปรุง)    
  จำนวนปริญญา   หลักสูตรปรับปรุง 2 ระดับ (โท – เอก)  
  เลือกใช้เกณฑ์การประเมิน   2558    
  วัน/เดือน/ปี ที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ   21/07/2561  
  ปีการศึกษาที่สภาอนุมัติให้เปิดสอน   2561
   หลักสูตรสังกัดคณะ   คณะวิทยาศาสตร์  
   เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.   2541  
   ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.   2556  
     
  1.1.1 ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)  
  1.1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Geology (International Program)  
  1.1.3 สถานที่จัดการเรียนการสอน : Main Campus  
1.2 ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
  1.2.1 รูปแบบ :
ระดับ 
ปริญญาเอก 1.1
ปริญญาเอก 1.2
 
  1.2.2 หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ :
ปริญญาที่ 
หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ 
ชื่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ)  
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) 
ชื่อสาขาวิชา 
1เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดชื่อปริญญาของ กกอ.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตDoctor of Philosophyปร.ด.Ph.Dธรณีวิทยา
 
1.3 ข้อมูลประกอบ :      
  1.3.1 วิชาเอก     ไม่มี  
  1.3.2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร : โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

       แบบ 1.1

               จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                                                        48          หน่วยกิต

               ก.   กระบวนวิชาเรียน                                                                          -           หน่วยกิต

               ข.   ปริญญานิพนธ์                                                                            48           หน่วยกิต           

      แบบ 1.2

               จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                                                        72          หน่วยกิต

               ก.   กระบวนวิชาเรียน                                                                          -           หน่วยกิต

            ข.         ปริญญานิพนธ์                                                             72           หน่วยกิต



รูปแบบ 
จำนวนหน่วยกิต 
ปริญญาเอก 1.148
ปริญญาเอก 1.272

 
  1.3.3 ภาษาที่ใช้ : หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)  
  1.3.4 การรับผู้เข้าศึกษา : รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ  
  1.3.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
 
  1.3.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว  

หลักสูตร 25410041101102_2123_IP:หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2561)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะวิทยาศาสตร์
1.4 สถานภาพหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร    
  1.4.1 กำหนดเปิดสอน   ภาคเรียนที่ 1  ปี 2561  

เอกสารแนบ มติสภา
  • Copy
  • Delete (Del)
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_4
 
Name 
Date modified 
Size 
CouncilApprove.pdf
02/11/2018 12:04:211.37 MB
 
  1.4.2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  
 
ตำแหน่งทางวิชาการ 
ชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรัฏฐ์ แสนทนวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Ph.D. (Envi.Sci.&Engineer) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:Colorado School of Mines, USA More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์บูรพา แพจุ้ยวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: วท.ด. (ธรณีวิทยา) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีรพันธ์ ศรีจันทร์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Ph.D. (Geology) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:University of Tasmania, AUS More Info...
 
  1.4.3 อาจารย์ประจำหลักสูตร    
ตำแหน่งทางวิชาการ 
อาจารย์ประจำหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรรณนิภา โมทนะเทศวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Ph.D. (Geology) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:Texas A&M University, USA More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์กันยารัตน์ ขวัญศิริกุลวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: วท.ด. สาขาธรณีวิทยา (นานาชาติ) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรัฏฐ์ แสนทนวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Ph.D. (Envi.Sci.&Engineer) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:Colorado School of Mines, USA More Info...
 อาจารย์นิติ มั่นเข็มทองวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Ph.D. (Geological Sciences) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:University of Texas at El Paso, USA More Info...
 อาจารย์บุณฑริกา ศรีทัยวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Ph.D. (Geology) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:University of London, Uk More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์บูรพา แพจุ้ยวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: วท.ด. (ธรณีวิทยา) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ More Info...
 รองศาสตราจารย์ปัญจวรรณ ธนสุทธิพิทักษ์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Ph.D.(Geology) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:Aston University, UK More Info...
 อาจารย์พัชรินทร์ โคสุวรรณ จันทร์ดีวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: วท.ด. (ธรณีวิทยา) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ More Info...
 รองศาสตราจารย์พิษณุ วงศ์พรชัยวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Dr. mont (Geowissenschaften) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:Montanuniversitaet Leoben, AUT More Info...
 รองศาสตราจารย์พิสิษฐ์ ลิ้มตระกูลวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Ph.D. (Geology) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:University of Tasmania, AUS More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุพา ทาโสดวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: วท.ด. (ธรณีวิทยา) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ More Info...
 อาจารย์รัตนาภรณ์ ฟองเงินวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Ph.D. (Geology) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:The University of Texas at Austin More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีรพันธ์ ศรีจันทร์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Ph.D. (Geology) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:University of Tasmania, AUS More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริพร ชัยศรีวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Ph.D. (Geophysics) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:University of Calgary, Canada More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวิมล อุดพ้วยวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Ph.D. (Geophysics) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:Texas A&M University, USA More Info...
 รองศาสตราจารย์อภิเชษฐ์ บุญสูงวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Ph.D. (Earth Sciences) สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:Birmingham University More Info...
 
1.5 ระบบจัดการศึกษา    
  1.5.1 การจัดการศึกษาและโครงสร้างหลักสูตร   ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาค การศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์  
  1.5.2 การจัดการศึกษาฤดูร้อน   ไม่มี
 
       
     
   

25410041101102_2123_IP:หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2561)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะวิทยาศาสตร์
1.6 ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้: Learning Outcomes)    
  1.6.1 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป    
   ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน
ลำดับที่ 
รายละเอียด 
 
No data to display
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน 
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)

 
  1.6.2 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาเฉพาะ    
     ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้ :Learning Outcomes)
ลำดับที่ (Ascending)
รายละเอียด 
[Collapse]หัวข้อ: 1.คุณธรรมจริยธรรม
 1.1ตระหนักในคุณค่าเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย ความรับผิดชอบ ความเสียสละ ความซื่อสัตย์สุจริต มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
 1.2สามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมที่ซับซ้อนเชิงวิชาการ หรือวิชาชีพ โดยใช้ดุลยพินิจอย่างผู้รู้ด้วยความยุติธรรม หลักฐาน ตามหลักการที่มีเหตุผล และค่านิยมอันดีงาม แสดงออกหรือสื่อสารข้อสรุปของปัญหาโดยคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นที่จะได้รับผลกระทบ
 1.3สามารถริเริ่มชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของจรรยาบรรณที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อทบทวนและแก้ไข สนับสนุนอย่างจริงจังให้ผู้อื่นใช้ดุลยพินิจทางด้านคุณธรรม จริยธรรมในการจัดการกับความขัดแย้งและปัญหาที่มีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
 1.4แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำ และผู้ตามในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมในสภาพแวดล้อมของการทำงาน และในชุมชน
[Collapse]หัวข้อ: 2.ความรู้
 2.1มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งในองค์ความรู้ที่เป็นแก่นในสาขาวิชาการหรือวิชาชีพ รวมทั้งข้อมูลเฉพาทางทฤษฎี หลักการและแนวคิดที่เป็นรากฐาน
 2.2สามารถพัฒนานวัตกรรม หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยการบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
 2.3รู้เทคนิคการวิจัยและการพัฒนาข้อสรุป ซึ่งเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาได้อย่างชาญฉลาด มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและกว้างขวางเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่เปลี่ยนแปลงในวิชาชีพทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
 2.4มีความรู้ที่เป็นปัจจุบันในสาขาวิชา มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติที่เป็นประเด็นปัญหาสำคัญ ที่อาจมีผลกระทบต่อวิชาการและวิชาชีพ
[Collapse]หัวข้อ: 3.ทักษะทางปัญญา
 3.1สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ และอย่างเป็นระบบในการค้นหาข้อเท็จจริงใหม่ๆโดยใช้ความเข้าใจอันถ่องแท้ในทฤษฎี และเทคนิคการแสวงหาความรู้ในการวิเคราะห์ประเด็นและปัญหาสำคัญได้อย่างสร้างสรรค์
 3.2สามารถสืบค้นข้อมูล นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใหม่ๆ หรือตอบสนองประเด็นปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
 3.3สามารถสังเคราะห์ผลงานวิจัย และทฤษฎีเพื่อวางแผนและดำเนินโครงการวิจัยใหม่ที่สร้างสรรค์ โดยบูรณาการแนวคิดต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกสาขาวิชาที่ศึกษาในขั้นสูงโดยใช้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตลอดถึงการใช้เทคนิคการวิจัย และให้ข้อสรุปที่สมบูรณ์ซึ่งขยายองค์ความรู้ใหม่ หรือปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในวิชาชีพที่มีอยู่เดิมได้อย่างมีนัยสำคัญ
[Collapse]หัวข้อ: 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
 4.1มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถสื่อสารกับกลุ่มบุคคลหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม
 4.2สามารถวางแผนวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่ซับซ้อนสูงมากด้วยตนเอง ใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม รวมทั้งวางแผนในการปรับปรุงตนเองและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 4.3สร้างปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ และแสดงออกถึงความโดดเด่นในการเป็นผู้นำในทางวิชาการหรือวิชาชีพ และสังคมที่ซับซ้อน
[Collapse]หัวข้อ: 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
 5.1สามารถคัดกรองข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าในประเด็นปัญหาที่สำคัญและซับซ้อน
 5.2สามารถสรุปปัญหาและเสนอแนะแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ โดยเจาะลึกในสาขาวิชาเฉพาะ
 5.3สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับกลุ่มบุคคลต่างๆ ในวงวิชาการและวิชาชีพทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยการนำเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ แบบปากเปล่า หรือผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งวิทยานิพนธ์หรือโครงการค้นคว้าวิจัยที่สำคัญ
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (Ascending)
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
 
 
  1.6.3 ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา    
 
ปีที่ (Ascending)
รายละเอียด 
1ชั้นปีที่ 1 นักศึกษาในหลักสูตรแบบ 1.1 (ฐานโท) และ 1.2 (ฐานตรี) ซึ่งผ่านการเรียนดุษฎีนิพนธ์ จำนวน 12 หน่วยกิต โดยสอบผ่านเงื่อนไขภาษาต่างประเทศ โดยมีคะแนน IELTS อย่างต่ำ 5.5 ซึ่งเทียบเท่ากับคะแนน TOEFL แบบ PBT 500 คะแนน แบบ CBT 173 คะแนน หรือ แบบ IBT 61 คะแนน ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติความรู้พื้นฐานและความรู้เชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ และผ่านการเสนอโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ ซึ่งโครงร่างดุษฎีนิพนธ์จะทำให้ผู้เรียนจะมีสมรรถนะในการวางแผนและออกแบบการวิจัย อันประกอบไปด้วยการระบุความสำคัญของหัวข้องานวิจัย การวางแผนเก็บข้อมูลเพื่อสำรวจในภาคสนามทางธรณีวิทยา และการศึกษาข้อมูลจากตัวอย่างหิน ดิน หรือแร่ที่ได้จากห้องปฏิบัติการ และการวางแผนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในภาคสนามและห้องปฏิบัติการ อีกทั้งนักศึกษาจะมีสมรรถนะความสามารถในการค้นคว้า ทบทวนวรรณกรรม และศึกษางานวิจัยด้านธรณีวิทยาขั้นสูงในแขนงที่เกี่ยวข้อกับหัวข้อการวิจัยของตนเอง รวมถึงการฝึกฝนแนวทางการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลทางวิชาการ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในปีต่อๆ ไป
2ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาในหลักสูตรแบบ 1.1 (ฐานโท) และ 1.2 (ฐานตรี) ได้ผ่านการเรียนดุษฎีนิพนธ์เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 24 หน่วยกิต รวมทั้งได้ดำเนินการจัดสัมมนาทางวิชาการเพื่อนำเสนอความก้าวหน้าดุษฎีนิพนธ์จำนวน 2 ครั้งให้แก่คณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และบุคคลภายนอกได้เข้าร่วมรับฟัง โดยที่การนำเสนอความก้าวหน้าดุษฎีนิพนธ์ในแต่ละครั้ง นักศึกษาต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญภายนอกในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อกับงานวิจัยเข้าร่วมด้วย โดยการนำเสนอความก้าวหน้าดุษฎีนิพนธ์มีจุดประสงค์เพื่อรับฟังคำชี้แนะ-ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือที่พบในระหว่างการทำดุษฎีนิพนธ์ และยังส่งเสริมให้นักศึกษามีสมรรถนะ ดังนี้ มีวินัยในตนเองโดยวางแผนติดต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และผู้เชี่ยวชาญภายนอกล่วงหน้า รวมถึงมีบุคลิกภาพที่ดี อันประกอบด้วยทักษะการอธิบายงานวิจัย การตั้งคำถาม การตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็น และการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งผู้เรียนจะมีสมรรถนะด้านบุคลิกภาพ การแต่งกาย ตลอดจนเทคนิคการสื่อสาร รวมทั้งมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้าข้อมูล อ่านทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ รวมถึงประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากบทความทางวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าดุษฎีนิพนธ์
3ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาในหลักสูตรแบบ 1.1 (ฐานโท) สำเร็จการศึกษาแล้ว สามารถทำงานเป็นนักวิจัยขั้นสูงด้านธรณีวิทยา ในแขนงที่ตนเองได้ทำวิจัย โดยเป็นดุษฎีบัณฑิตที่คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพธรณีวิทยา สามารถชี้นำสังคมถึงผลกระทบเชิงบวกและลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการนำทรัพยากรธรณีขึ้นมาใช้ประโยชน์ มีความซื่อสัตย์ต่อข้อมูลที่ทำวิจัยหรือข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากการสำรวจและเก็บตัวอย่างทางธรณีวิทยาในภาคสนาม และสามารถเขียนบทความทางวิชาการเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ในแวดวงวิชาการด้านธรณีวิทยา โดยผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ ได้รับการเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติอย่างน้อย 2 เรื่อง โดย 1 เรื่อง ต้องอยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science ทั้งนี้ ผลงานเผยแพร่จะต้องมีนักศึกษาเป็นชื่อแรกอย่างน้อย 1 เรื่อง และเสนอผลงานดุษฏีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งสมรรถนะด้านการวิจัยขั้นสูงด้านธรณีวิทยาทั้งหมดนี้ จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงานในอนาคต นักศึกษาในหลักสูตรแบบ 1. 2 (ฐานตรี) นักศึกษาที่เรียนผ่านในชั้นปีนี้ ได้ผ่านการทำดุษฎีนิพนธ์เพิ่มอีก 24 หน่วยกิต และได้นำเสนอความก้าวหน้าในการทำวิจัยของตนเองอีก 2 ครั้ง ซึ่งนักศึกษาจะมีสมรรถนะเหมือนกับที่ได้ฝึกฝนมาในชั้นปีที่ 2 แต่จะมีความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ด้านธรณีวิทยาในแขนงที่ตนเองทำวิจัยมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และการทำวิจัยมากขึ้น
4ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาในหลักสูตรแบบ 1.2 (ฐานตรี) สำเร็จการศึกษาแล้ว สามารถทำงานเป็นนักวิจัยขั้นสูงด้านธรณีวิทยา ในแขนงที่ตนเองได้ทำวิจัย โดยเป็นดุษฎีบัณฑิตที่คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพธรณีวิทยา สามารถชี้นำสังคมถึงผลกระทบเชิงบวกและลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการนำทรัพยากรธรณีขึ้นมาใช้ประโยชน์ มีความซื่อสัตย์ต่อข้อมูลที่ทำวิจัยหรือข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากการสำรวจและเก็บตัวอย่างทางธรณีวิทยาในภาคสนาม และสามารถเขียนบทความทางวิชาการเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ในแวดวงวิชาการด้านธรณีวิทยา โดยผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ ได้รับการเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติอย่างน้อย 2 เรื่อง โดย 1 เรื่อง ต้องอยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science ทั้งนี้ ผลงานเผยแพร่จะต้องมีนักศึกษาเป็นชื่อแรกอย่างน้อย 1 เรื่อง และเสนอผลงานดุษฏีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งสมรรถนะด้านการวิจัยขั้นสูงด้านธรณีวิทยาทั้งหมดนี้ จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงานในอนาคต

 
1.7 คุณสมบัติผู้เรียน
 

2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

     หลักสูตร แบบ 1.1

1.       เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องการรับนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา

2.       สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาธรณีวิทยา หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ แล้ว

3.       ผ่านเกณฑ์เงื่อนไขภาษาต่างประเทศตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย

4.       คุณสมบัติอื่นนอกจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชา

      หลักสูตร แบบ 1.2

1.       เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องการรับนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา

2.       สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธรณีวิทยา หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง และได้รับเกียรตินิยมจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง โดยมีลำดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.50 และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ แล้ว

3.       ผ่านเกณฑ์เงื่อนไขภาษาต่างประเทศตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย

4.       คุณสมบัติอื่นนอกจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชา

 
1.8 จำนวนนิสิต        
1.8.1 จำนวนนิสิต :  
 
ประเภทปริญญา(Ascending)
ชั้นปี
25612562256325642565
ปริญญาเอก 1.1122222
202222
300222
A:รวม24666
B:จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะจบ00222
ปริญญาเอก 1.2111111
201111
300111
400011
A:รวม12344
B:จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะจบ00011

   
  1.8.2 รูปแบบการศึกษา : แบบชั้นเรียน  
  1.8.3 ค่าใช้จ่ายต่อหัวต่อปี (สูงสุด)   81113.00  บาท (โครงการปกติ/รับตรง)
0.00  บาท (โครงการพิเศษ ถ้ามี)
 
1.9 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร    
 

3. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

(1)     สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)

(2)     สอบผ่านภาษาต่างประเทศตามเงื่อนไขของบัณฑิตวิทยาลัย

(3)     ปฏิบัติครบตามเงื่อนไขของสาขาวิชา

(4)     สอบผ่านการสอบประเมินผลดุษฎีนิพนธ์ และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลการทำปริญญานิพนธ์และ/หรือซักถามได้

(5)     หลักสูตรแบบ 1.1

§  ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ ได้รับการเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติอย่างน้อย 2 เรื่อง โดย 1 เรื่องต้องอยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science ทั้งนี้ ผลงานเผยแพร่จะต้องมีนักศึกษาเป็นชื่อแรกอย่างน้อย 1 เรื่อง และเสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขา อย่างน้อย 1 เรื่อง

หลักสูตรแบบ 1.2

§  ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ ได้รับการเผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science อย่างน้อย 2 เรื่อง โดยมีนักศึกษาเป็นชื่อแรกอย่างน้อย 1 เรื่อง และเสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขา อย่างน้อย 1 เรื่อง

(6)     เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการพิจารณาเกียรติและศักดิ์ของนักศึกษาที่จะได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิต ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2550


 
1.10 เอกสารแนบ    
   
  • Move (F6)
  • Copy
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_10
 
Name 
Date modified 
Size 
มคอ2.pdf
01/02/2019 10:01:1712.52 MB