25340201100268_2151_IP:หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2560)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะศึกษาศาสตร์
1.1 รหัสและชื่อหลักสูตร      
  ประเภทการขอรับทราบ   หลักสูตรปรับปรุง (หลักสูตรปรับปรุงตามกำหนดรอบปรับปรุง)    
  จำนวนปริญญา   หลักสูตรปรับปรุง 2 ระดับ (โท – เอก)  
  เลือกใช้เกณฑ์การประเมิน   2558    
  วัน/เดือน/ปี ที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ   26/03/2560  
  ปีการศึกษาที่สภาอนุมัติให้เปิดสอน   2560
   หลักสูตรสังกัดคณะ   คณะศึกษาศาสตร์  
   เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.   2534  
   ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.   2552  
     
  1.1.1 ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา  
  1.1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ : Master of Education Program in Science Education  
  1.1.3 สถานที่จัดการเรียนการสอน : Main Campus  
1.2 ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
  1.2.1 รูปแบบ :
ระดับ 
ปริญญาโท แบบ ก2
ปริญญาโท แบบ ข
 
  1.2.2 หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ :
ปริญญาที่ 
หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ 
ชื่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ)  
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) 
ชื่อสาขาวิชา 
1เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดชื่อปริญญาของ กกอ.การศึกษามหาบัณฑิตMaster of Educationกศ.ม.M.Ed.วิทยาศาสตร์ศึกษา
 
1.3 ข้อมูลประกอบ :      
  1.3.1 วิชาเอก     ไม่มี  
  1.3.2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร : โครงสร้างหลักสูตร

ตารางโครงสร้างหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

 

ลำดับ

ที่

รายการ

เกณฑ์  ศธ.

พ.ศ. 2558

หลักสูตรปรับปรุง

พ.ศ. 2560

แผน ก

แบบ ก 2

แผน ข

แผน ก

แบบ ก 2

แผน ก

แบบ ก 2

(ทุน Premium)

แผน ข

1

งานรายวิชา (Course work) ไม่น้อยกว่า

 

12

 

24

 

24

 

40

 

30

 

1.1 วิชาพื้นฐาน

-

-

 3

 3

 3

 

1.2   วิชาบังคับ

1.3   วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

-

-

-

-

12

 9

28

 9

12

15

2

วิชาวิทยานิพนธ์

12

-

12

12

-

3

วิชาการค้นคว้าอิสระ

-

3-6

-

-

6

4

วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต

-

-

5

5

5

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า

36

36

36

52

36

 

 


รูปแบบ 
จำนวนหน่วยกิต 
ปริญญาโท แบบ ก2แผน ก แบบ ก2 จำนวน 36 หน่วยกิต แผน ก แบบ ก2 (ทุน Premuim) จำนวน 52 หน่วยกิต
ปริญญาโท แบบ ข36

 
  1.3.3 ภาษาที่ใช้ : หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ)  
  1.3.4 การรับผู้เข้าศึกษา : รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ  
  1.3.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรที่ได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากสถาบันอื่น ชื่อสถาบัน ประเทศ รูปแบบของการร่วม
  • Copy
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_3
 
Name 
Date modified 
Size 
MOU1_3_5.pdf
10/10/2018 10:10:48237.18 KB
 
  1.3.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว  

หลักสูตร 25340201100268_2151_IP:หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2560)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะศึกษาศาสตร์
1.4 สถานภาพหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร    
  1.4.1 กำหนดเปิดสอน   ภาคเรียนที่ 1  ปี 2560  

เอกสารแนบ มติสภา
  • Copy
  • Delete (Del)
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_4
 
Name 
Date modified 
Size 
CouncilApprove.pdf
29/03/2019 13:19:02551.99 KB
 
  1.4.2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  
 
ตำแหน่งทางวิชาการ 
ชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติยา บงกชเพชรวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สกนธ์ชัย ชะนูนันท์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิรินภา กิจเกื้อกูลวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรีย์พร สว่างเมฆวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 
  1.4.3 อาจารย์ประจำหลักสูตร    
ตำแหน่งทางวิชาการ 
อาจารย์ประจำหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์คเชนทร์ แดงอุดมวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: วท.ด. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์จินตนา กล่ำเทศวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติยา บงกชเพชรวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราณี นางงามวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ More Info...
 อาจารย์พัทธมน แสงอินทร์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์มลิวรรณ นาคขุนทดวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย More Info...
 อาจารย์วนินทร สุภาพวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิภารัตน์ เชื้อชวด ชัยสิทธิ์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Ph.D. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:University of Massachusetts, Amherst More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศราวุฒิ เถื่อนถ้ำวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Philosophy of Doctoral in Materials Science สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สกนธ์ชัย ชะนูนันท์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิรินภา กิจเกื้อกูลวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรีย์พร สว่างเมฆวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 
1.5 ระบบจัดการศึกษา    
  1.5.1 การจัดการศึกษาและโครงสร้างหลักสูตร   ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาค การศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์  
  1.5.2 การจัดการศึกษาฤดูร้อน   มี

ระบบการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

มี (ไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ โดยมีสัดส่วนเวลาเรียนเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ)

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

          ภาคการศึกษาต้น             เดือน สิงหาคม ถึง ธันวาคม

          ภาคการศึกษาปลาย          เดือน มกราคม ถึง พฤษภาคม

          ภาคฤดูร้อน                    เดือน พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม

 
       
     
   

25340201100268_2151_IP:หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2560)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะศึกษาศาสตร์
1.6 ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้: Learning Outcomes)    
  1.6.1 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป    
   ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน
ลำดับที่ 
รายละเอียด 
 
No data to display
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน 
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)

 
  1.6.2 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาเฉพาะ    
     ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้ :Learning Outcomes)
ลำดับที่ (Ascending)
รายละเอียด 
[Collapse]หัวข้อ: 1.คุณธรรมจริยธรรม
 1.1มีความรู้ความเข้าใจในมโนทัศน์เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
 1.2ตระหนักถึงความสำคัญของการดำรงชีวิตและการประกอบวิชาชีพตามคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
 1.3สามารถวิเคราะห์สังเคราะห์ ประเมินและจัดการปัญหาคุณธรรม จริยธรรมที่ซับซ้อนอย่างผู้รู้ด้วยความยุติธรรมและชัดเจนมีหลักฐาน และจรรยาบรรณวิชาชีพโดยใช้ดุลยพินิจที่เหมาะสม และมีพฤติกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี
 1.4มีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมในที่ทำงานและในชุมชน
[Collapse]หัวข้อ: 2.ความรู้
 2.1มีความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเนื้อหาสาระสำคัญหลักการและทฤษฎีที่สำคัญของสาขาวิชา ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการหรือการปฏิบัติในวิชาชีพ
 2.2มีความเข้าใจทฤษฎี หลักการ การวิจัยและวิธีการปฏิบัติทางวิชาชีพในระดับแนวหน้า
 2.3มีความเข้าใจวิธีการพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ และการประยุกต์ใช้ ตลอดจนผลกระทบของผลงานวิจัยในปัจจุบันที่มีต่อองค์ความรู้และต่อการปฏิบัติในวิชาชีพ
 2.4ตระหนักในระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่ในสภาพแวดล้อมระดับชาติและนานาชาติที่อาจมีผลกระทบต่อสาขาวิชาชีพ
[Collapse]หัวข้อ: 3.ทักษะทางปัญญา
 3.1ใช้ความรู้ภาคทฤษฎีและการปฏิบัติในการจัดการปัญหาที่ไม่คาดคิดทางวิชาชีพ ในบริบทใหม่และพัฒนาแนวคิดริเริ่มและสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองประเด็นปัญหา
 3.2สามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอได้อย่างสมเหตุสมผล
 3.3สามารถสังเคราะห์และใช้ผลงานวิจัย สิ่งพิมพ์ทางวิชาการ หรือรายงานทางวิชาชีพ และสามารถพัฒนาความคิดใหม่ ๆ โดยการบูรณาการให้เข้ากับองค์ความรู้เดิมหรือเสนอเป็นความรู้ใหม่ ทางการศึกษา ได้อย่างเหมาะสม
 3.4สามารถใช้เทคนิคทั่วไปหรือเฉพาะทางในการวิเคราะห์ประเด็นหรือปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงพัฒนาข้อสรุปและเสนอแนะในวิชาชีพ
 3.5สามารถวางแผนและดำเนินการโครงการสำคัญหรือโครงการวิจัยค้นคว้าทางการศึกษาวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเอง โดยใช้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตลอดถึงการใช้เทคนิควิจัย และให้ข้อสรุปที่สมบูรณ์ซึ่งขยายองค์ความรู้หรือแนวทางการปฏิบัติในวิชาชีพได้เหมาะสม
[Collapse]หัวข้อ: 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
 4.1มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และ ความรับผิดชอบของตนเองและผู้อื่นในการทำงานและการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร ตลอดจนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
 4.2สามารถแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนหรือมีความยุ่งยากระดับสูงทางวิชาชีพได้ด้วยตนเอง
 4.3สามารถตัดสินใจในการดำเนินงานด้วยตนเองและสามารถประเมินตนเองได้ รวมทั้งวางแผนในการปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในระดับสูงได้
 4.4มีความรับผิดชอบในการดำเนินงานและร่วมมือกับผู้อื่นอย่างเต็มที่ เพื่อจัดการข้อโต้แย้งและปัญหาต่าง ๆ
 4.5แสดงออกถึงทักษะการเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสมตามโอกาสและสถานการณ์เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงานของกลุ่ม
[Collapse]หัวข้อ: 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
 5.1สามารถคัดกรองวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และสถิติ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าปัญหา สรุปปัญหา และเสนอแนะแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และด้านอื่น ๆ
 5.2สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างเหมาะสมกับบุคคล ต่าง ๆ ทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา รวมถึงชุมชนทั่วไป โดยการนำเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งวิทยานิพนธ์ หรือโครงการค้นคว้าที่สำคัญ
 5.3สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร ประมวลผลข้อมูล และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
[Collapse]หัวข้อ: 6. ทักษะการจัดการเรียนรู้
 6.1สามารถจัดทำโครงการสอน แผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ ใช้กลวิธีสอนที่หลากหลาย ใช้สื่อ/นวัตกรรม/เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
 6.1สามารถจัดทำโครงการสอน แผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ ใช้กลวิธีสอนที่หลากหลาย ใช้สื่อ/นวัตกรรม/เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
 6.2สามารถจัดทำบันทึกการเรียนรู้/บันทึกประจำวัน เกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษา
 6.3สามารถทำโครงการร่วมกับครูหรือบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาวิทยาศาสตร์
 6.4สามารถทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ และ ประยุกต์ใช้ผลการวิจัยเพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (Ascending)
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
 
 
  1.6.3 ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา    
 
ปีที่ (Ascending)
รายละเอียด 
1มีทักษะการเรียนรู้และสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ศึกษา/วิชาชีพครูวิทยาศาสตร์ สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รวมทั้งเห็นความสำคัญและร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร/หน่วยงานที่ส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์ศึกษา/วิชาชีพครูวิทยาศาสตร์
2มีทักษะการสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา รวมทั้งมีทักษะการทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา/การสอนวิทยาศาสตร์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพได้

 
1.7 คุณสมบัติผู้เรียน
 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

               แผน ก แบบ ก 2

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรทางการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง  จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง  หรือ

2.    สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง  หรือ

3.   สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ที่เรียนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

4.    มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวรว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาพ.ศ. 2559

5.    มีใบรับรองการตรวจสุขภาพกายและสุขภาพจิต

 

กรณีผู้ขอรับทุนโครงการ สควค. แบบ Premium

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง หรือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ที่เรียนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง และ มีคุณสมบัติเพิ่มเติมตามเงื่อนไขของการให้ทุนของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

               แผน ข

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรทางการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง  จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง  หรือ

2.    สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง  

3.    มีประสบการณ์ทางการสอนในสถานศึกษา ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแล้ว

4.    มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวรว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2559

5.    มีใบรับรองการตรวจสุขภาพกายและสุขภาพจิต


คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร

ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559

ข้อ ๕  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

(๑)   วุฒิการศึกษา

(ก)       หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต ผู้เข้าศึกษาจะต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง

(ข)       หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ผู้เข้าศึกษาจะต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง

(ค)       หลักสูตรปริญญาโท ผู้เข้าศึกษาจะต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง

(ง)        หลักสูตรปริญญาเอก ผู้เข้าศึกษาจะต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ที่มีผลการเรียนดีมาก หรือปริญญาโทหรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง และมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร

(๒)      ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในกรณีความผิดอันได้กระทำโดยความประมาท หรือความผิดลหุโทษ

(๓)   ไม่เคยถูกคัดชื่อออกจากสถาบันการศึกษาใดอันเนื่องมาจากความประพฤติ

(๔)   มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรค หรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

(๕)   มีคุณสมบัติอย่างอื่นตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด


 
1.8 จำนวนนิสิต        
1.8.1 จำนวนนิสิต :  
 
ประเภทปริญญา(Ascending)
ชั้นปี
25602561256225632564
ปริญญาโท แบบ ก213030303030
2030303030
A:รวม3060606060
B:จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะจบ030303030
ปริญญาโท แบบ ข12020202020
2020202020
A:รวม2040404040
B:จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะจบ020202020

   
  1.8.2 รูปแบบการศึกษา : แบบชั้นเรียน  
  1.8.3 ค่าใช้จ่ายต่อหัวต่อปี (สูงสุด)   75000.00  บาท (โครงการปกติ/รับตรง)
100000.00  บาท (โครงการพิเศษ ถ้ามี)
 
1.9 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร    
 

การประเมินการสำเร็จการศึกษาของหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2559 ดังนี้

1   แผน ก แบบ ก 2

1.1       มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด

1.2       ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด

1.3       สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย

1.4       ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตรและเงื่อนไขของสาขาวิชา

1.5       มีผลการศึกษาได้ค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 3.00

1.6       เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่า โดยเป็นระบบเปิดสามารถเข้ารับฟังได้

1.7       ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full paper)  ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว

กรณีผู้รับทุนโครงการ สควค. ประเภททุน premium

ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full paper)  ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว จำนวน 1 เรื่อง

2   แผน ข (ครูประจำการ)

2.1       มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด

2.2       ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด

2.3       สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย

2.4       ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตรและเงื่อนไขของสาขาวิชา

2.5       มีผลการศึกษาได้ค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 3.00

2.6       สอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (COMPREHENSIVE EXAMINATION)

2.7       เสนอรายงานการค้นคว้าอิสระและสอบผ่านการสอบปากเปล่า โดยเป็นระบบเปิดสามารถเข้ารับฟังได้

2.8       รายงานการค้นคว้าอิสระหรือส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full paper)  ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว


เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร

ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559

ข้อ ๒๗ การทำวิทยานิพนธ์

                   () การสอบวิทยานิพนธ์และการรายงานผลการสอบ

                        การสอบวิทยานิพนธ์ปากเปล่าต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังได้ เมื่อนิสิตผ่านการสอบวิทยานิพนธ์โดยการสอบปากเปล่าแล้ว คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์จะต้องรายงานผลการสอบต่อบัณฑิตวิทยาลัยภายใน ๒ สัปดาห์ หลังวันสอบวิทยานิพนธ์ 

ข้อ ๒๘  การเสนอชื่อเพื่อขออนุมัติปริญญา

                   ในภาคการศึกษาสุดท้ายที่นิสิตจะจบหลักสูตรการศึกษา นิสิตต้องยื่นใบรายงานที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาต่อมหาวิทยาลัย โดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาภายใน ๔ สัปดาห์ นับจากวันเปิดภาคการศึกษา

                   นิสิตที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อขออนุมัติให้ได้รับปริญญา  จะต้องผ่านเงื่อนไขต่างๆ ดังต่อไปนี้

                   (๑)   ปริญญาโท แผน ก แบบ ก ๒

                             (ก)      มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด

                             (ข)      ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด

                             (ค)      สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย

                             (ง)       ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร  และเงื่อนไขของสาขาวิชานั้นๆ

                             (จ)      มีผลการศึกษาได้ค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า   ๓.๐๐ 

                             (ฉ)      เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่า โดยเป็นระบบเปิดสามารถเข้ารับฟังได้

                             (ช)      ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เป็นบทความวิจัยในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการเป็นบทความวิจัยและได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว

                              กรณีผู้รับทุนโครงการ สควค. ประเภททุน premium  

                              ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ เป็นบทความวิจัยในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวน 1 เรื่อง และ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการเป็นบทความวิจัยและได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) จำนวน 1 เรื่อง

                   สำหรับนิสิตระดับปริญญาเอกที่ไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ อาจขอศึกษาเฉพาะระดับปริญญาโทได้ โดยการศึกษาจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาวิชานั้นๆ

                   (๒)   ปริญญาโท แผน ข

                             (ก)      มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด

                             (ข)       ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด

                             (ค)      สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย 

                             (ง)       ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร และเงื่อนไขของสาขาวิชานั้นๆ

                             (จ)       มีผลการศึกษาได้ค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐

                             (ฉ)       สอบผ่านการสอบประมวลความรู้  (COMPREHENSIVE EXAMINATION)

                             (ช)      เสนอรายงานการค้นคว้าอิสระและสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง

                             (ซ)      รายงานการค้นคว้าอิสระหรือส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการเป็นบทความวิจัยหรือบทความวิชาการและได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว

                   

 
1.10 เอกสารแนบ    
   
  • Move (F6)
  • Copy
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_10
 
Name 
Date modified 
Size 
มคอ2.pdf
02/09/2019 14:02:4512.3 MB