25320741100255_2132_IP:หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2560)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะพยาบาลศาสตร์
1.1 รหัสและชื่อหลักสูตร      
  ประเภทการขอรับทราบ   หลักสูตรปรับปรุง (หลักสูตรปรับปรุงตามกำหนดรอบปรับปรุง)    
  จำนวนปริญญา   หลักสูตรปรับปรุง 1 ปริญญา  
  เลือกใช้เกณฑ์การประเมิน   2558    
  วัน/เดือน/ปี ที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ   25/05/2560  
  ปีการศึกษาที่สภาอนุมัติให้เปิดสอน   2560
   หลักสูตรสังกัดคณะ   คณะพยาบาลศาสตร์  
   เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.   2531  
   ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.   2555  
     
  1.1.1 ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)  
  1.1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ : ฺิBachelor of Nursing Science Program (International Program)  
  1.1.3 สถานที่จัดการเรียนการสอน : สถานที่จัดการเรียนการสอนอื่นๆ (โปรดระบุ):วิทยาเขตหัวหมาก  
1.2 ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
  1.2.1 รูปแบบ :
ระดับ 
ปริญญาตรี 4 ปี : ปริญญาตรีทางวิชาชีพ
 
  1.2.2 หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ :
ปริญญาที่ 
หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ 
ชื่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ)  
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) 
ชื่อสาขาวิชา 
1เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดชื่อปริญญาของ กกอ.พยาบาลศาสตรบัณฑิตBachelor of Nursing Scienceพย.บ.B.N.S. 
 
1.3 ข้อมูลประกอบ :      
  1.3.1 วิชาเอก     ไม่มี  
  1.3.2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร : โครงสร้างหลักสูตร

3.1.3    โครงสร้างหลักสูตร

                 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                       138  หน่วยกิต 

                     ก.  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                    30  หน่วยกิต

                      กลุ่มสังคมศาสตร์                                           4  หน่วยกิต

                      กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์                                      3  หน่วยกิต

                      กลุ่มวิชาภาษา                                             15  หน่วยกิต

                      กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์                    8  หน่วยกิต

                 ข. หมวดวิชาเฉพาะ                                        102  หน่วยกิต

                      วิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชาชีพ (ภาคทฤษฎี)           62 หน่วยกิต

                      วิชาชีพ (ภาคปฏิบัติ)                                     40  หน่วยกิต

                 . หมวดวิชาเลือกเสรี                                         6  หน่วยกิต


รูปแบบ 
จำนวนหน่วยกิต 
ปริญญาตรี 4 ปี : ปริญญาตรีทางวิชาชีพ138

 
  1.3.3 ภาษาที่ใช้ : หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ)  
  1.3.4 การรับผู้เข้าศึกษา : รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ  
  1.3.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
 
  1.3.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว  

หลักสูตร 25320741100255_2132_IP:หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2560)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะพยาบาลศาสตร์
1.4 สถานภาพหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร    
  1.4.1 กำหนดเปิดสอน   ภาคเรียนที่ 1  ปี 2560  

เอกสารแนบ มติสภา
  • Copy
  • Delete (Del)
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_4
 
Name 
Date modified 
Size 
CouncilApprove.pdf
07/09/2018 11:03:5014.33 MB
 
  1.4.2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  
 
ตำแหน่งทางวิชาการ 
ชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์กันยพัชร์ เศรษฐ์โชฎึกวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: B.N.S in Nursing and Midwifery สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:Khon Kaen University More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐวุฒิการศึกษาสูงสุด: ประกาศนียบัตรหรือหลักสูตรเฉพาะ(ที่บรรจุในอัตราเงินเดือนสูงกว่าปริญญาเอก) หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์บุณยวีย์ เสนาบุญญฤทธิ์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์พัชรี จันทรักษาวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์พัด ประภาวิชาวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 
  1.4.3 อาจารย์ประจำหลักสูตร    
ตำแหน่งทางวิชาการ 
อาจารย์ประจำหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์กันยพัชร์ เศรษฐ์โชฎึกวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: M.N.S. Adult Nursing สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:Khon Kaen University More Info...
 อาจารย์ชวลี บุญโตวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐวุฒิการศึกษาสูงสุด: ประกาศนียบัตรหรือหลักสูตรเฉพาะ(ที่บรรจุในอัตราเงินเดือนสูงกว่าปริญญาเอก) หลักสูตร: Ph.D. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:University of Illinois at Chicago, USA More Info...
 อาจารย์บุณยวีย์ เสนาบุญญฤทธิ์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: Master of Science สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:Chulalongkorn University More Info...
 อาจารย์พัชรี จันทรักษาวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Ph.D. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:Chulalongkorn University More Info...
 อาจารย์พัด ประภาวิชาวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: MS.N. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:University of Wollongong, Australia More Info...
 อาจารย์ภัทรา เผือกพันธ์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์ภาวิณี ซ้ายกลางวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริพร พูลรักษ์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์สุภาว์ ปัดเกษมวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์อรอุมา ธรรมผลวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 
1.5 ระบบจัดการศึกษา    
  1.5.1 การจัดการศึกษาและโครงสร้างหลักสูตร   ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาค การศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์  
  1.5.2 การจัดการศึกษาฤดูร้อน   มี
7 สัปดาห์
 
       
     
   

25320741100255_2132_IP:หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2560)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะพยาบาลศาสตร์
1.6 ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้: Learning Outcomes)    
  1.6.1 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป    
   ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน
ลำดับที่ 
รายละเอียด 
[Collapse]หัวข้อ: 1.คุณธรรมจริยธรรม
 1มีการพัฒนาคุณธรรมและหลักจริยธรรม
 2มีการเกื้อกูลช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม
 3มีกิริยามารยาทสุภาพต่ออาจารย์และเพื่อนร่วมชั้น
 4มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความรับผิดชอบ
[Collapse]หัวข้อ: 2.ความรู้
 1มีทักษะการอ่านและการเขียนเชิงวิชาการทั้งภาษาอังกฤษ/ภาษาไทย
 2มีทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ/ภาษาไทยอย่างคล่องแคล่ว
 3มีความเข้าใจรูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษ/ภาษาไทยและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 4มีความเข้าใจองค์ความรู้ที่หลากหลายและประเด็นร่วมสมัยต่างๆ จากการศึกษากลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษา วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
 5เชื่อมโยงความรู้ที่หลากหลายกับวิชาที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
[Collapse]หัวข้อ: 3.ทักษะทางปัญญา
 1สามารถนำแนวความคิดและความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
 2มีความสนใจใฝ่รู้และค้นคว้าหาความรู้
 3สามารถคิดเชิงวิเคราะห์ เช่น การแก้ปัญหา การตัดสินใจ และการใช้เหตุผลในเชิงวิเคราะห์
[Collapse]หัวข้อ: 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
 1สามารถร่วมทำกิจกรรมกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 2มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายและงานต่างๆ ให้ลุล่วง
 3สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
 4สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นที่มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม
 5มีความตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมระหว่างบุคคลและบริบททางวิชาชีพ
[Collapse]หัวข้อ: 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
 1คิดอย่างมีเหตุผลโดยใช้เหตุผลทั้งทางอุปนัยและทางนิรนัย
 2สามารถแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ตรรกะและการคำนวณ
 3เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่โดยใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศ
 4สามารถค้นหาข้อมูลจากสื่อต่างๆ ที่หลากหลาย และนำไปใช้งานอย่างเหมาะสม
 5มีทักษะการสื่อสารโดยการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศ
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน 
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)

 
  1.6.2 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาเฉพาะ    
     ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้ :Learning Outcomes)
ลำดับที่ (Ascending)
รายละเอียด 
[Collapse]หัวข้อ: 1.คุณธรรมจริยธรรม
 1มีจิตจริยธรรม ปฏิบัติตามหลักศาสนาและจรรยาบรรณวิชาชีพในชีวิตประจำวันและการปฏิบัติงาน
 2เคารพในคุณค่า สิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 3มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองในการปฏิบัติงาน และเข้าใจในสิทธิของตนเอง
 4มีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ และเคารพกฏระเบียบของสังคม
[Collapse]หัวข้อ: 2.ความรู้
 1มีความรู้ และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานด้านชีวภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และการบริหารจัดการ
 2มีความรู้และความเข้าใจในด้านปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชน และระบบสุขภาพของประเทศและสังคมโลก
 3มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ทางวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ รวมทั้งการประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาล
 4มีความรู้และความเข้าใจในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยการวิจัย
 5มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาลและสุขภาพ
[Collapse]หัวข้อ: 3.ทักษะทางปัญญา
 1มีความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบโดยใช้ความรู้และประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ผลลัพท์ทางการพยาบาลที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการ
 2สามารถวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งเพื่อการพัฒนาตนเอง
 3ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยในการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนางานได้
[Collapse]หัวข้อ: 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
 1มีความรับผิดชอบต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และองค์กรวิชาชีพ
 2มีความสามารถในการปรับตัวเชิงวิชาชีพ การติดต่อสื่อสาร และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงานในทีมสุขภาพ
 3มีภาวะผู้นำและผู้ตามได้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนแสดงความคิดเห็นที่มีเหตุผล และได้รับการยอมรับ
[Collapse]หัวข้อ: 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
 1สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ในการให้บริการทางสุขภาพแก่ประชาชน
 2สามารถสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยในการสื่อสารและการปฏิบัติงาน
 3สามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการอ่าน เขียน ฟัง พูด และการนำเสนองานทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ
 4สามารถใช้หลักสถิติ คณิตศาสตร์ และตรรกศาสตร์ในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล เพื่อการวิจัยและการให้การพยาบาล
[Collapse]หัวข้อ: 6.ทักษะการปฏิบัติเชิงวิชาชีพ
 1สามารถปฏิบัติทักษะทางการพยาบาลแบบองค์รวมโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง และใช้กระบวนการพยาบาลตามกรอบแนวคิดการดูแลตนเองแก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน
 2สามารถปฏิบัติการพยาบาล ด้วยความเมตตา กรุณา เอื้อ อาทรส่งเสริมการเข้าถึงบริการ อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงความแตกต่างของปัจเจกบุคคล และพหุวัฒนธรรม
 3สามารถให้การบริการทางสุขภาพครอบคลุม 4 มิติ คือ สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ดูแลรักษาและฟื้นฟูสุขภาพแก่ผู้ใช้บริการทุกช่วงวัยและทุกภาวะสุขภาพ โดยยึดหลักมาตรฐานการพยาบาลวิชาชีพอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยภายใต้ขอบเขตของพระราชบัญญัติวิชาชีพการ พยาบาลและการผดุงครรภ์
 4สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ และศิลป์ทางการพยาบาลในการให้บริการพยาบาลตามสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพอย่างสุภาพอ่อนโยนสอดคล้องกับปรัชญาของหลักสูตรที่กล่าวว่า “การบริการมนุษย์คือการรับใช้พระเจ้า”
 5แสดงภาวะผู้นำในการบริหารจัดการทีมพยาบาลและ/หรือเขียนแผนธุรกิจทางด้านสุขภาพได้ โดยคำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพและการพิทักษ์สิทธิ์ของผู้ใช้บริการ
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (Ascending)
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
 
 
  1.6.3 ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา    
 
ปีที่ (Ascending)
รายละเอียด 
1คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้กำหนดความคาดหวังให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ตามที่วางแผนไว้ในหลักสูตร โดยจำแนกความคาดหวังไปเป็นตามหลักสูตรแต่ละชั้นปี และผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละด้านดังนี้ ชั้นปีที่ 1 1) ผลการเรียนรู้ด้านจริยธรรม นักศึกษามีการพัฒนาจริยธรรมขั้นพื้นฐาน และเริ่มได้รับการพัฒนาจริยธรรมวิชาชีพเมื่อเริ่มเรียนรายวิชาทางการพยาบาล 2) ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ นักศึกษามีความรู้ด้านการใช้ภาษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ และมีความรู้ในพื้นฐานวิชาชีพ และวิชาชีพภาคทฤษฎี มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานด้านชีวภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และการบริหารจัดการ นอกจากนี้ยังมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในด้านปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชน รวมทั้งการประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาล 3) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะปัญญา นักศึกษาสามารถนำแนวความคิด และความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ ประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์จากการเรียนในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆ โดยสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ของผู้ป่วยที่มีภาวะความเจ็บป่วยที่ไม่ซับซ้อน 4) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษามีความรับผิดชอบในการปฎิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย มีความสามารถอ่าน เขียน ฟังและพูด ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบเชิงวิชาชีพ ต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม สามารถติดต่อสื่อสารและมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใช้บริการ แสดงความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างเหมาะสมในการทำงานเป็นกลุ่ม และการจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพ 5) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการอ่าน เขียน พูด ฟัง และการนำเสนองานทางวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสืบค้นข้อมูลจากสื่อต่างๆที่หลากหลายและนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม
21) ผลการเรียนรู้ด้านจริยธรรม นักศึกษามีจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพในชีวิตประจำวันและการปฏิบัติการพยาบาล เคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของผู้อื่น รวมถึงมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานและเข้าใจในสิทธิผู้ป่วยและของตนเอง มีความซื่อสัตย์และเคารพในกฎระเบียบ 2) ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานด้านชีวภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และการบริหารจัดการ รวมถึงสาระสำคัญของศาสตร์ทางวิชาชีพการพยาบาล มีความเข้าใจในปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วย รวมทั้งสามารถประยุกต์ใช้กระบวนการทางการพยาบาลในการปฎิบัติการพยาบาลแก่ผู้รับบริการในโรงพยาบาลได้อย่างเหมาะสม 3) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะปัญญา นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อผู้ใช้บริการในโรงพยาบาล และมีความสามารถวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งเพื่อการพัฒนาตนเอง นอกจากนี้ยังสามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพได้ 4) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม และองค์กรวิชาชีพ สามารถปรับตัวและติดต่อสื่อสารและมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใช้บริการ และ ผู้ร่วมงานในทีมสุขภาพในการปฎิบัติการพยาบาล รวมทั้งมีความสามารถในการเป็นผู้นำและผู้ตามอย่างเหมาะสม 5) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาสามารถใช้หลักสถิติ คณิตศาสตร์ และตรรกศาสตร์ ในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลในการให้การพยาบาลผู้ป่วย สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสืบค้นข้อมูลเพื่อให้บริการเพื่อสุขภาพแก่ประชาชน และมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อนำเสนองานทางวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการปฎิบัติเชิงวิชาชีพ นักศึกษามีทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวม และครอบคลุมทั้ง 4 มติ คือการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ดูแลรักษา และฟื้นฟูสุขภาพ โดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลางตามกรอบแนวคิดการดูแลตนเอง สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์และศิลป์ทางการพยาบาลในการให้บริการพยาบาลตามสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณาเอื้ออาทร ต่อผู้ป่วยในวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่และผู้ป่วยทางด้านจิตเวช สอดคล้องกับปรัชญาของหลักสูตร และมีความสามารถเขียนแผนธุรกิจทางด้านสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
31) ผลการเรียนรู้ด้านจริยธรรม นักศึกษาสามารถแสดงออกถึงความมีจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ทั้งในชีวิตประจำวันและการปฏิบัติงาน มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ และเคารพกฏระเบียบของสังคม มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง เคารพคุณค่า ศักดิ์ศรี และสิทธิของผู้ป่วยขณะปฏิบัติการพยาบาล 2) ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานวิชาชีพ ความเข้าใจปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชน รวมถึงมีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ทางวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ และมีความรู้ความเข้าใจในการสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยการวิจัย เพื่อให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทิภาพ 3) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะปัญญา นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และสามารถวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของตนเองเพื่อการพัฒนา และยังสามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่มีคุณภาพและปลอดภัยได้ 4) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษามีความรับผิดชอบและมีความสามารถในการปรับตัวเชิงวิชาชีพ มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน สังคม และผู้ร่วมงานในทีมสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแสดงบทบาทการเป็นผู้นำและผู้ตามได้เหมาะสม 5) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาสามารถใช้หลักสถิติ คณิตศาสตร์ และตรรกศาสตร์ ในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลในการให้การพยาบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลและชุมชน ตลอดจนการทำวิจัยทางการพยาบาล สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ในการให้บริการทางสุขภาพแก่ประชาชน และมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษและการนำเสนองานทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการปฎิบัติเชิงวิชาชีพ นักศึกษมีทักษะการปฎิบัติเชิงวิชาชีพสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์และศิลป์ทางการพยาบาลในการให้บริการพยาบาลตามสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพอย่างสุภาพอ่อนโยนสอดคล้องกับปรัชญาของหลักสูตร ทั้งในการปฎิบัติการพยาบาลในโรงพยาบาลและชุมชน ครอบคลุมผู้รับบริการทุกช่วงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ เด็กที่มีภาวะเจ็บป่วย หญิงตั้งครรภ์ การดูแลผู้หญิงหลังคลอดในสถานบริการสุขภาพ ครอบครัวและชุมชน ตลอดจนการดูแลสุขภาพชุมชน การวินิจฉัยชุมชน และการทำงานร่วมกับประชาชนเพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
41) ผลการเรียนรู้ด้านจริยธรรม นักศึกษามีจริยธรรมขั้นพื้นฐาน จรรยาบรรณวิชาชีพ จริยธรรมผู้ประกอบวิชาชีพและผู้นำทางการพยาบาล แสดงออกถึงการเคารพคุณค่า ศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชน และมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองในการปฏิบัติงาน และสามารถแยกแยะ วิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางด้านจริยธรรม รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆในการฝึกปฎิบัติการพยาบาลและการจัดสัมมนาทางการพยาบาล 2) ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานวิชาชีพ และความเข้าใจปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพและสามารถให้การพยาบาลตามกระบวนการพยาบาล และการจัดสัมมนาทางการพยาบาล โดยเน้นบทบาทอิสระเชิงวิชาชีพ และมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการทางการพยาบาลรวมถึงการประยุกต์ใช้สารสนเทศทางการพยาบาล 3) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะปัญญา นักศึกษามีความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และสามารถแก้ปัญหาทางการพยาบาล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้รับบริการและตนเอง และยังสามารถวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งเพื่อการพัฒนาตนเองได้ สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาโครงงานคุณภาพทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธภาพ 4) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน สังคม และองค์กรวิชาชีพ มีความสามารถในการทำงานเป็นทีมกับพยาบาลวิชาชีพในการปฎิบัติการพยาบาลแบบรวบยอด และยังสามารถแสดงบทบาทการเป็นผู้นำและผู้ตามอย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนแสดงความคิดเห็นที่มีเหตุผล และได้รับการยอมรับ 5) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล มีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษ และการวิเคราะห์แปลผลข้อมูลทางสถิติ เพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ในการให้บริการทางสุขภาพแก่ประชาชน และการจัดสัมมนาทางการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง 6) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการปฎิบัติเชิงวิชาชีพ นักศึกษามีทักษะการปฎิบัติเชิงวิชาชีพอย่างครบถ้วนตามมาตรฐานวิชาชีพ การประกันสุขภาพเพื่อการบำบัด การดูแลมารดา ทารกในการผดุงครรภ์ โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติการพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพอย่างอิสระ (independent role) และบทบาทการเป็นผู้นำในการพยาบาล การบริหารจัดการความเสี่ยง และการปฏิบัติการพยาบาลแบบรวบยอด เพื่อให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน/แผนกต่างๆของโรงพยาบาล

 
1.7 คุณสมบัติผู้เรียน
 

1.  อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปี

2.  น้ำหนักไม่น้อยกว่า 40 กิโลกรัม และส่วนสูงอย่างน้อย 150 เซ็นติเมตร

3.  เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญสาขาวิทยาศาสตร์หรือวิทย์-คณิต    ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า

4.   ผ่านการสอบโดยข้อสอบและการสัมภาษณ์ของคณะพยาบาลศาสตร์

5.  มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือมีความผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

6. มีความประพฤติดี ไม่มีประวัติอาชญากรรมหรือประพฤติตนเสื่อมเสียที่อาจมีผลต่อภาพลักษณ์วิชาชีพพยาบาล มีความตั้งใจที่ใช้ความสามารถของตนในการที่จะศึกษา และปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด

 
1.8 จำนวนนิสิต        
1.8.1 จำนวนนิสิต :  
 
ประเภทปริญญา(Ascending)
ชั้นปี
25602561256225632564
ปริญญาตรี 4 ปี : ปริญญาตรีทางวิชาชีพ16060606060
2060606060
300606060
40006060
A:รวม60120180240240
B:จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะจบ0006060

   
  1.8.2 รูปแบบการศึกษา : แบบชั้นเรียน  
  1.8.3 ค่าใช้จ่ายต่อหัวต่อปี (สูงสุด)   172675.00  บาท (โครงการปกติ/รับตรง)
0.00  บาท (โครงการพิเศษ ถ้ามี)
 
1.9 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร    
 

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้กำหนดเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาสำหรับปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ดังต่อไปนี้

1. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร

2. ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบคะแนน 4.00

3. ทุกรายวิชาในกลุ่มวิชาชีพ ต้องได้ระดับผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบคะแนน 4.00

4. เข้าร่วมการสัมมนาจริยธรรมวิชาชีพ (Professional Ethics Seminar) 16 ครั้ง

5. มีความประพฤติเรียบร้อย มีระเบียบวินัย และมีคะแนนความประพฤติไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

6. ไม่มีภาระติดค้างกับฝ่ายการเงินและห้องสมุด

7.  มีสมรรถนะในการสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
 
1.10 เอกสารแนบ    
   
  • Move (F6)
  • Copy
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_10
 
Name 
Date modified 
Size 
มคอ2.pdf
19/12/2018 12:02:5210.47 MB
หนังสือสภาการพยาบาลรับทราบ.pdf
19/12/2018 13:31:5616.97 MB
หลักสูตร มคอ 2 แก้ไข.pdf
19/12/2018 13:39:2716.19 MB