25320051100677_2177_IP:หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2560)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะแพทยศาสตร์
1.1 รหัสและชื่อหลักสูตร      
  ประเภทการขอรับทราบ   หลักสูตรปรับปรุง (หลักสูตรปรับปรุงตามกำหนดรอบปรับปรุง)    
  จำนวนปริญญา   หลักสูตรปรับปรุง 2 ระดับ (โท – เอก)  
  เลือกใช้เกณฑ์การประเมิน   2558    
  วัน/เดือน/ปี ที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ   24/04/2560  
  ปีการศึกษาที่สภาอนุมัติให้เปิดสอน   2560
   หลักสูตรสังกัดคณะ   คณะแพทยศาสตร์  
   เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.   2552  
   ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.   2555  
     
  1.1.1 ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์  
  1.1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Applied Thai Traditional Medicine  
  1.1.3 สถานที่จัดการเรียนการสอน : Main Campus  
1.2 ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
  1.2.1 รูปแบบ :
ระดับ 
ปริญญาโท แบบ ก1
ปริญญาโท แบบ ก2
 
  1.2.2 หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ :
ปริญญาที่ 
หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ 
ชื่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ)  
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) 
ชื่อสาขาวิชา 
1เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดชื่อปริญญาของ กกอ.วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตMaster of Scienceวท.ม.M.Sc.การแพทย์แผนไทยประยุกต์
 
1.3 ข้อมูลประกอบ :      
  1.3.1 วิชาเอก     ไม่มี  
  1.3.2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร : โครงสร้างหลักสูตร

           แผน ก 1 ซึ่งเป็นการทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว       

1) วิทยานิพนธ์                                          36  หน่วยกิต

รวม                                                       36  หน่วยกิต

หมายเหตุ ต้องศึกษาหมวดวิชาบังคับ 2 หน่วยกิต แบบไม่นับหน่วยกิต คือ ผท.600 สัมมนาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร 1 และ ผท.601 สัมมนาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร 2 โดยต้องวัดผลได้ระดับ P (ผ่าน)

 แผน ก 2 ซึ่งเป็นการศึกษารายวิชาและการทำวิทยานิพนธ์

1) หมวดวิชาบังคับ                                    12  หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเลือกไม่น้อยกว่า                        12 หน่วยกิต

3) วิทยานิพนธ์                                         12  หน่วยกิต

รวม                                                      36  หน่วยกิต


รูปแบบ 
จำนวนหน่วยกิต 
ปริญญาโท แบบ ก136
ปริญญาโท แบบ ก236

 
  1.3.3 ภาษาที่ใช้ : หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)  
  1.3.4 การรับผู้เข้าศึกษา : รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ  
  1.3.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
 
  1.3.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว  

หลักสูตร 25320051100677_2177_IP:หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2560)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะแพทยศาสตร์
1.4 สถานภาพหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร    
  1.4.1 กำหนดเปิดสอน   ภาคเรียนที่ 1  ปี 2560  

เอกสารแนบ มติสภา
  • Copy
  • Delete (Del)
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_4
 
Name 
Date modified 
Size 
CouncilApprove.pdf
27/09/2018 17:59:031.1 MB
CouncilApprove2681.pdf
27/09/2018 17:59:20218.1 KB
 
  1.4.2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  
 
ตำแหน่งทางวิชาการ 
ชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์นวลจันทร์ ใจอารีย์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ More Info...
 อาจารย์ศรีโสภา เรืองหนูวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ More Info...
 รองศาสตราจารย์อรุณพร อิฐรัตน์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Doctor of Philosophy สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:King's College, University of London UK More Info...
 
  1.4.3 อาจารย์ประจำหลักสูตร    
ตำแหน่งทางวิชาการ 
อาจารย์ประจำหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 รองศาสตราจารย์ทิพาพร ธาระวานิชวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ว.ว. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย More Info...
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์นวลจันทร์ ใจอารีย์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ More Info...
 รองศาสตราจารย์ไวพจน์ จันทร์วิเมลืองวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ว.ว. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย More Info...
 อาจารย์ศรีโสภา เรืองหนูวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ More Info...
 รองศาสตราจารย์อรุณพร อิฐรัตน์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: Doctor of Philosophy สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:King's College, University of London UK More Info...
 
1.5 ระบบจัดการศึกษา    
  1.5.1 การจัดการศึกษาและโครงสร้างหลักสูตร   ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาค การศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์  
  1.5.2 การจัดการศึกษาฤดูร้อน   ไม่มี
 
       
     
   

25320051100677_2177_IP:หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2560)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะแพทยศาสตร์
1.6 ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้: Learning Outcomes)    
  1.6.1 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป    
   ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน
ลำดับที่ 
รายละเอียด 
 
No data to display
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน 
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)

 
  1.6.2 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาเฉพาะ    
     ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้ :Learning Outcomes)
ลำดับที่ (Ascending)
รายละเอียด 
[Collapse]หัวข้อ: 1.คุณธรรมจริยธรรม
 1ตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการวิจัยทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์
 2มีดุลยพินิจอย่างผู้รู้โดยใช้หลักฐาน มีเหตุผล และค่านิยม เจตคติอันดีงามต่อวิชาชีพ
 3แสดงออกและสื่อสารโดยใช้ดุลยพินิจทางด้านคุณธรรม จริยธรรมในการจัดการกับความขัดแย้งและปัญหาที่มีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
 4มีภาวะผู้นำ มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
[Collapse]หัวข้อ: 2.ความรู้
 1มีความเข้าใจในสาระสำคัญอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งในองค์ความรู้ด้านทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับแพทย์แผนไทยประยุกต์
 2มีความรู้ที่เป็นปัจจุบันในด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแพทย์แผนไทยประยุกต์
 3สามารถดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคนิคการวิจัยและองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแพทย์แผนไทยประยุกต์
 4สามารถบูรณาการความรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน คลินิก และชุมชนได้
[Collapse]หัวข้อ: 3.ทักษะทางปัญญา
 1สามารถเข้าใจในทฤษฎี ทักษะและเทคนิคทางด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
 2สามารถวิเคราะห์ประเด็นและปัญหาสำคัญทางด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร และพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใหม่ๆ
 3สามารถสังเคราะห์ผลงานการวิจัยและทฤษฎีทางการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเพื่อพัฒนานวัตกรรมองค์ความรู้ใหม่ที่สร้างสรรค์ โดยสามารถประยุกต์และบูรณาการแนวคิดต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกสาขาวิชาที่ศึกษา
 4สามารถออกแบบและดำเนินการโครงการวิจัยที่สำคัญในเรื่องที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่อย่างมีนัยสำคัญ
[Collapse]หัวข้อ: 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
 1สามารถแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ มีความโดดเด่นในการเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
 2มีเทคนิคการสื่อสารที่ดีและปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่มคนอย่างสร้างสรรค์
 3มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ ต่อตนเองและสังคม
 4มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ความสามารถในการปรับตัว และมีความอดทน
[Collapse]หัวข้อ: 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
 1สามารถวิเคราะห์ คัดกรองข้อมูลทางเชิงตัวเลขสถิติในการศึกษาค้นคว้าวิจัยได้
 2สามารถสรุปปัญหาและเสนอแนะแก้ไขผ่านการบูรณาการทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน การแพทย์แผนไทย การวิจัยทางคลินิกและชุมชน
 3สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบและเทคนิคของการสื่อสารและการนำเสนอได้อย่างเหมาะสมกับบุคคล
 4สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ บุคคล และกลุ่มบุคคล
[Collapse]หัวข้อ: 6.ทักษะพิสัย
 1มีทักษะในการปฎิบัติงานด้านหัตถการและการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแพทย์แผนไทยประยุกต์อย่างมีประสิทธิภาพ
 2มีทักษะในกระบวนการดำเนินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมโดยต้องเสนอผ่านคณะกรรมการจริยธรรมในคน
 3มีทักษะในการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยกับสาขาวิชาอื่นเพื่อต่อยอดองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
 4มีความใฝ่รู้ ติดตามความรู้และเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแพทย์แผนไทยประยุกต์อย่างต่อเนื่อง
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (Ascending)
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
 
 
  1.6.3 ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา    
 
ปีที่ (Ascending)
รายละเอียด 
1ปรับพื้นฐานความรู้ทางการแพทย์แผนไทย วิทยาศาสตร์ในระดับพรีคลินิกและคลินิก สามารถประมวลความรู้ ความเชื่อมโยงของการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบันได้ เรียนรู้ทักษะการนำเสนอในระดับประเทศ
2ได้ทักษะในการปฏิบัติการทั้งทางพรีคลินิกและคลินิกที่เชื่อมโยงกับแพทย์แผนไทย ได้ทักษะการนำเสนอในระดับชาติและนานาชาติ สามารถเชื่อมโยงความรู้แพทย์แผนไทยและวิทยาศาสตร์ได้ สามารถเสนอเขียนผลงานเป็นเรื่องราวและตีพิมพ์ได้ สามารถทำงานเป็นทีม มีทักษะความเป็นผู้นำ มีความยุติธรรมและจริยธรรม มีความเป็นธรรมศาสตร์คือเข้าใจสิ่งที่ต่างและยอมรับได้

 
1.7 คุณสมบัติผู้เรียน
 

           คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2553 ข้อ 7 ดังนี้

                  1. ต้องไม่เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงซึ่งจะเบียดเบียนหรือเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการศึกษา

                  2.  ต้องไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง

                  3.   ต้องไม่เคยถูกคัดชื่อออกจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นเพราะมีความผิดทางวินัย ภายในระยะเวลา ๑๐ ปี ก่อนการสมัครเข้าเป็นนักศึกษา

                  4.   คุณสมบัติอย่างอื่นตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในหลักสูตร หรือตามที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้เป็นกรณีพิเศษ

                        การกำหนดคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศอย่างชัดเจนในการรับสมัครเข้าศึกษา

 และมีคุณสมบัติดังนี้

สำหรับผู้ที่จะเลือกเรียน แผน ก 1 ซึ่งเป็นการทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ การแพทย์แผนไทย หรือสาขาที่เทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ โดยต้องมีค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00  มีประสบการณ์งานวิจัย และมีผลงานตีพิมพ์ที่เป็นชื่อแรกอย่างน้อย 1 เรื่อง ที่นอกเหนือจากสารนิพนธ์

สำหรับผู้ที่จะเลือกเรียน แผน ก 2 ซึ่งเป็นการศึกษารายวิชาและการทำวิทยานิพนธ์ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1.  เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรแพทยแผนไทยประยุกต์บัณฑิต แพทย์แผนไทยบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ แพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต หรือสาขาที่เทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ โดยต้องมีค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ

2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยต้องมีค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00

หมายเหตุ   กรณีเป็นผู้เข้าศึกษาต่างชาติที่จะสมัครเรียนต้องสามารถฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยอยู่ในระดับดีตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษากำหนด
 
1.8 จำนวนนิสิต        
1.8.1 จำนวนนิสิต :  
 
ประเภทปริญญา(Ascending)
ชั้นปี
25602561256225632564
ปริญญาโท แบบ ก1122222
202222
A:รวม24444
B:จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะจบ02222
ปริญญาโท แบบ ก211010101010
2010101010
A:รวม1020202020
B:จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะจบ010101010

   
  1.8.2 รูปแบบการศึกษา : แบบชั้นเรียน  
  1.8.3 ค่าใช้จ่ายต่อหัวต่อปี (สูงสุด)   200000.00  บาท (โครงการปกติ/รับตรง)
0.00  บาท (โครงการพิเศษ ถ้ามี)
 
1.9 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร    
 

1. ได้ระดับ P (ผ่าน) ในการศึกษาวิชา ผท.600 สัมมนาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร 1 และ ผท.601 สัมมนาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร 2 (แผน ก แบบ ก 1)

2. ได้ศึกษาลักษณะวิชาต่างๆ ครบตามโครงสร้างหลักสูตร และมีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ ที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ครบถ้วน (แผน ก แบบ ก 2)

3. ได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน) (แผน ก แบบ ก 2)  

4.  ได้ค่าระดับ P (ผ่าน) ในการสอบภาษาต่างประเทศ ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

5. ได้ระดับ S (ใช้ได้) ในการสอบวิทยานิพนธ์ โดยการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายที่คณะ กรรมการคณะแพทยศาสตร์แต่งตั้ง รวมทั้งเป็นระบบเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าฟังได้ และดำเนินการส่งเล่มวิทยานิพนธ์ตามระเบียบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

6. ผลงานวิทยานิพนธ์

แผน ก แบบ ก 1 ผลงานวิทยานิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวนอย่างน้อย 1 เรื่อง

แผน ก แบบ ก 2 ผลงานวิทยานิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceeding) ดังกล่าว จำนวนอย่างน้อย 1 เรื่อง

                7. ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ ตามที่คณะแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยกำหนด
 
1.10 เอกสารแนบ    
   
  • Move (F6)
  • Copy
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_10
 
Name 
Date modified 
Size 
มคอ2.pdf
01/06/2019 12:13:441.65 MB