25300681100122_2130_IP:หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2562)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา วิทยาลัยการออกแบบ
1.1 รหัสและชื่อหลักสูตร      
  ประเภทการขอรับทราบ   หลักสูตรปรับปรุง (หลักสูตรปรับปรุงตามกำหนดรอบปรับปรุง)    
  จำนวนปริญญา   หลักสูตรปรับปรุง 1 ปริญญา  
  เลือกใช้เกณฑ์การประเมิน   2558    
  วัน/เดือน/ปี ที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ   21/11/2561  
  ปีการศึกษาที่สภาอนุมัติให้เปิดสอน   2562
   หลักสูตรสังกัดคณะ   วิทยาลัยการออกแบบ  
   เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.   2530  
   ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.   2560  
     
  1.1.1 ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน  
  1.1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Fine Arts Program in Interior Design  
  1.1.3 สถานที่จัดการเรียนการสอน : Main Campus  
1.2 ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
  1.2.1 รูปแบบ :
ระดับ 
ปริญญาตรี 4 ปี : ปริญญาตรีทางวิชาการ
 
  1.2.2 หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ :
ปริญญาที่ 
หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ 
ชื่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ)  
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) 
ชื่อสาขาวิชา 
1เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดชื่อปริญญาของ กกอ.ศิลปบัณฑิตBachelor of Fine Artsศล.บ.B.F.A.การออกแบบภายใน
 
1.3 ข้อมูลประกอบ :      
  1.3.1 วิชาเอก     ไม่มี  
  1.3.2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร : โครงสร้างหลักสูตร

1.   หมวดวิชาศึกษาทั่วไป        30       หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไปแบ่งโครงสร้างหลักสูตรออกเป็น 8 กลุ่มวิชา ดังนี้

กลุ่มที่ 1  และ กลุ่มที่ 2  จำนวนหน่วยกิตรวม                        15          หน่วยกิต   แบ่งเป็น

กลุ่มที่  1 อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย (RSU Identity)                      3           หน่วยกิต

กลุ่มที่  2  ความเป็นสากลและการสื่อสาร (Internationalization and Communication)   12          หน่วยกิต

โดยกลุ่มที่   2   แบ่งออกเป็น   2   กลุ่มวิชา    ดังนี้

กลุ่ม  2.1  กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ  (English Language)             6           หน่วยกิต

กลุ่ม  2.2  กลุ่มวิชาภาษานานาชาติและประสบการณ์ระหว่างประเทศ   (International Language and International Experience)         6       หน่วยกิต

กลุ่มที่ 3  ถึง  กลุ่มที่  8  จำนวนหน่วยกิตรวม                        15           หน่วยกิต

นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาในกลุ่มที่  3  ถึงกลุ่มที่  8 โดยในแต่ละกลุ่มจะเลือกวิชาได้ไม่เกิน 3 หน่วยกิต รวมแล้วไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต

กลุ่มที่  3 ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบต่อสังคม  (Leadership and Social Responsibility)

กลุ่มที่  4 ศิลปะและวัฒนธรรม  (Arts and Culture)

กลุ่มที่  5 ผู้ประกอบการนวัตกรรม  (Innovative Entrepreneurship)                                     

กลุ่มที่  6 รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล  (Digital Media Literacy)

กลุ่มที่  7 หลักคิดวิทยาศาสตร์  (Essence of Science)

กลุ่มที่  8 อาร์เอสยู มาย-สไตล์  (RSU My-Style)

2.     หมวดวิชาเฉพาะ                                           105         หน่วยกิต

วิชาพื้นฐานวิชาชีพ                                                 30         หน่วยกิต

วิชาชีพ                                                                    75         หน่วยกิต

. วิชาชีพ-บังคับ                                                    63          หน่วยกิต

ก.1 หมวดวิชาหลัก                                                 38          หน่วยกิต

ก.2 หมวดวิชาเทคโนโลยี                                       15           หน่วยกิต

ก.3 หมวดวิชาสนับสนุน                                        10           หน่วยกิต

. วิชาชีพ-เลือก                                                      12           หน่วยกิต

3.     หมวดวิชาเลือกเสรี          ไม่น้อยกว่า       6        หน่วยกิต

นักศึกษาสามารถเลือกลงในรายวิชาของหมวดวิชาเลือกเสรีที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน โดยได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา               

4.    กลุ่มวิชาโท                    ไม่น้อยกว่า         15       หน่วยกิต

สำหรับนักศึกษาวิทยาลัย/คณะอื่นๆ


รูปแบบ 
จำนวนหน่วยกิต 
ปริญญาตรี 4 ปี : ปริญญาตรีทางวิชาการ141

 
  1.3.3 ภาษาที่ใช้ : หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)  
  1.3.4 การรับผู้เข้าศึกษา : รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ  
  1.3.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
 
  1.3.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว  

หลักสูตร 25300681100122_2130_IP:หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2562)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา วิทยาลัยการออกแบบ
1.4 สถานภาพหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร    
  1.4.1 กำหนดเปิดสอน   ภาคเรียนที่ 1  ปี 2562  

เอกสารแนบ มติสภา
  • Copy
  • Delete (Del)
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_4
 
Name 
Date modified 
Size 
CouncilApprove.pdf
28/11/2018 10:19:181.13 MB
 
  1.4.2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  
 
ตำแหน่งทางวิชาการ 
ชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 อาจารย์ณัฐพงศ์ ศรีปุงวิวัฒน์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: M.A. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:Domus Academy, Milan, Italy. More Info...
 อาจารย์ถวัลย์ วงษ์สวรรค์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: สถ.ม. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย More Info...
 อาจารย์นิจาภา เหมะภูติ แฮมมิวตันวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: M.F.A. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:Savannah College of Arts and Design, GA., U.S.A. More Info...
 อาจารย์ไพลิน โภคทวีวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: M.F.A. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:Savannah College of Arts and Design, GA., U.S.A. More Info...
 อาจารย์อรรถกฤษณ์ อุทัยกาญจน์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: M.Arch. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:New Jersey Institute of Technology, NJ., U.S.A. More Info...
 
  1.4.3 อาจารย์ประจำหลักสูตร    
ตำแหน่งทางวิชาการ 
อาจารย์ประจำหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 อาจารย์บัณฑิต เนียมทรัพย์วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: ศศ.ม. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศิลปากร More Info...
 
1.5 ระบบจัดการศึกษา    
  1.5.1 การจัดการศึกษาและโครงสร้างหลักสูตร   ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาค การศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์  
  1.5.2 การจัดการศึกษาฤดูร้อน   มี
มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน 1 ภาคการศึกษา ซึ่งมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์  
 
       
     
   

25300681100122_2130_IP:หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน หลักสูตรปรับปรุง(พ.ศ. 2562)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา วิทยาลัยการออกแบบ
1.6 ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้: Learning Outcomes)    
  1.6.1 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป    
   ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน
ลำดับที่ 
รายละเอียด 
[Collapse]หัวข้อ: 1.คุณธรรมจริยธรรม
 1-51) มีจิตสำนึกและเข้าใจธรรมชาติของตนเอง ต่อผู้อื่น และสังคม 2) มีความเข้าใจในหลักการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม 3) มีความตระหนักและเห็นคุณค่าในความแตกต่างของชาติพันธุ์ ตลอดจนวัฒนธรรมของชาติและนานาชาติ 4) มีหลักในการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม 5) มีจิตสาธารณะ
[Collapse]หัวข้อ: 2.ความรู้
 1-3 1) มีความรู้และสามารถผสมผสานเนื้อหาในศาสตร์สาขาต่างๆ ได้ 2) มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม สิ่งแวดล้อมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติ 3) มีความรู้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
[Collapse]หัวข้อ: 3.ทักษะทางปัญญา
 1-31) มีความสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผล 2) มีความสามารถคิดวิเคราะห์เชิงบูรณาการ และเชื่อมโยงอย่างเป็นองค์รวม 3) มีความสามารถคิดอย่างสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาที่เผชิญได้
[Collapse]หัวข้อ: 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
 1-3 1) มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และสังคม 2) มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทั้งในฐานะผู้นำหรือสมาชิกของกลุ่ม 3) มีความใจกว้าง รับฟังและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
[Collapse]หัวข้อ: 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
 1-31) มีความสามารถคิดวิเคราะห์ จำแนก และตีความข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ 2) มีความสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม ทั้งทักษะการพูด เขียน อ่าน ฟัง 3) มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น นำเสนอ และสื่อสารได้อย่างเหมาะสมทันต่อความก้าวหน้าของสถานการณ์ปัจจุบัน
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน 
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)

 
  1.6.2 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาเฉพาะ    
     ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้ :Learning Outcomes)
ลำดับที่ (Ascending)
รายละเอียด 
[Collapse]หัวข้อ: 1.คุณธรรมจริยธรรม
 1-31) ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 2) มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น 3) มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
[Collapse]หัวข้อ: 2.ความรู้
 1-41) รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง 2) มีความสามารถในการค้นคว้า แก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ อย่างเป็นระบบ 3) มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้าน ศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
[Collapse]หัวข้อ: 3.ทักษะทางปัญญา
 1-4 1) สามารถค้นคว้า รวบรวม และประเมินข้อมูล จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมี วิจารณญาณ 2) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3) สามารถบูรณการความรู้กับศาสตร์อื่น เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและ วิชาชีพได้ 4) มีความคิดสร้างสรรค์ และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
[Collapse]หัวข้อ: 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
 1-31) มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและ มนุษยสัมพันธ์ที่ดี . 2) มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 3) สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความ คิดเห็นที่แตกต่าง
[Collapse]หัวข้อ: 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
 1-31) สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทสในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม สำหรับงานศิลปกรรม
[Collapse]หัวข้อ: 6. ทักษะพิสัย
 11) สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานของตน
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (Ascending)
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
 
 
  1.6.3 ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา    
 
ปีที่ (Ascending)
รายละเอียด 
1ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นภาคการศึกษา ต่อนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม นักศึกษาจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ด้านความรู้ นักศึกษามีความรอบรู้ในศาสตร์ด้านความรู้ทั่วไปทางศิลปะและการออกแบบ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างสรรค์ผลงาน ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้าหาข้อมูล
2ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นภาคการศึกษา ต่อนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ด้านคุณธรรม จริยธรรม จริยธรรม นักศึกษาจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ด้านความรู้ นักศึกษาจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการออกแบบภายในอาคารพักอาศัยและพื้นที่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่รวมไปถึงที่พักอาศัยเชิงธุรกิจ พื้นที่การทำงานขององค์กรและสำนักงานหน่วยงานราชการ สามารถเขียนแบบ แปลน รูปด้าน รูปตัด แบบรายละเอียดและการใช้สัญลักษณ์ที่ถูกต้องตามแบบมาตรฐานสากลได้ ด้านทักษะทางปัญญา นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ลักษณะทางโครงสร้างของสถานที่ การวางผัง การจัดทำโปรแกรมและ การวิเคราะห์ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สัดส่วนมนุษย์ จิตวิทยาและพฤติกรรมของผู้ใช้ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาสามารถทำงานเป็นกลุ่ม เข้าใจถึงภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ความสามารถในการวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสื่อสารทั้งการพูดและนำเสนองาน เขียนแบบ และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้าหาข้อมูล
3ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นภาคการศึกษา ต่อนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ด้านคุณธรรม จริยธรรม นักศึกษา จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับแนวคิดของผู้อื่น ด้านความรู้ นักศึกษาจะต้องสามารถออกแบบ ภายในอาคารธุรกิจการบริการขนาดกลางถึงขนาดใหญ่เช่น ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ต สปา และโรงพยาบาลและยังสามารถออกแบบเพื่อผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสตลอดจนการออกแบบที่เชื่อมโยงกับธุรกิจการบริการตามกระแสการเปลี่ยนแปลงทางวิถีชีวิตวัฒธรรมและเทคโนโลยีเรียนรู้ทางกฎหมายและระเบียบข้อบังคับพื้นฐานเกี่ยวกับอาคารรวมไปถึงการออกแบบเพื่อสุนทรียภาพ สามารถเลือกใช้วัสดุได้อย่างเหมาะสมในงานออกแบบ ด้านทักษะทางปัญญา นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเสนอแนวทางแก้ปัญหาในงานออกแบบได้อย่างสร้างสรรค์ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาสามารถทำงานเป็นกลุ่ม เข้าใจถึงภาวะผู้นำและวางแผนงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ความสามารถในการวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
4ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นภาคการศึกษา ต่อนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ด้านคุณธรรม จริยธรรม นักศึกษาจะต้องมีวินัย มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านความรู้ นักศึกษาจะต้องเข้าใจการออกแบบพื้นที่ในเชิงสร้างสรรค์ที่สามารถรองรับการใช้งานได้หลากหลายที่เชื่อมโยงกับธุรกิจ การบริการอื่น ๆ ตามวิถีการใช้ชีวิตตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมีความรู้ในการออกแบบเพื่อผู้สูงวัยและผู้ด้อยโอกาส ด้านทักษะทางปัญญา นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเสนอแนวทางแก้ปัญหาในงานออกแบบได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งนำเสนอแนวความคิดและกระบวนการออกแบบทางวาจาผ่านแบบร่าง ภาพ โมเดล รายละเอียด ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาสามารถทำงานเป็นกลุ่มและสามรถแลกเปลื่ยนประสบการณ์และความรู้โดยการวิจารณ์งาน เข้าใจถึงภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ความสามารถในการวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาสามารถสื่อสารด้วยการฟัง พูด อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป และนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในรูปแบบการแสดงผลงานจัดนิทรรศการแสดงผลงานและเผยแพร่วิทยานิพนธ์สู่สาธรณชน

 
1.7 คุณสมบัติผู้เรียน
 

1)   สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ    หรือเทียบเท่า และมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรเข้ารับศึกษา

2)    ผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาตามระเบียบการคัดเลือกของมหาวิทยาลัย

           3)    ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือถูกไล่ออกจากสถาบันอุดมศึกษาใดๆ เพราะ

                    ความผิดทางวินัย

                   4)    ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

                   5)    ไม่เคยต้องโทษจำคุกเว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดอันเป็นลหุโทษ

                   6)    การเทียบโอนและการคัดเลือกนักศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์สภาสถาปนิก

 
1.8 จำนวนนิสิต        
1.8.1 จำนวนนิสิต :  
 
ประเภทปริญญา(Ascending)
ชั้นปี
25622563256425652566
ปริญญาตรี 4 ปี : ปริญญาตรีทางวิชาการ16060606060
2055555555
300505050
40005050
A:รวม60115165215215
B:จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะจบ0005050

   
  1.8.2 รูปแบบการศึกษา : แบบชั้นเรียน  
  1.8.3 ค่าใช้จ่ายต่อหัวต่อปี (สูงสุด)   100000.00  บาท (โครงการปกติ/รับตรง)
0.00  บาท (โครงการพิเศษ ถ้ามี)
 
1.9 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร    
 

        1.  หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 6 ภาคการศึกษาปกติ    

        2.  เรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

        3.  มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม (CGPA) ไม่ต่ำกว่า 2.00 ตลอดจนแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยวิชาชีพบังคับและวิชาชีพเลือกไม่ต่ำกว่า 2.00  

        4.  การให้อนุปริญญา  เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรปริญญาตรี

                4.1  เป็นผู้ที่สอบไล่ได้ครบทุกลักษณะวิชาตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด

                4.2  ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรต่ำกว่า 2.00 แต่ไม่ต่ำกว่า 1.75

                4.3  ไม่อยู่ในระหว่างการรับโทษหรือรอรับโทษทางวินัย

                4.4  ได้ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของมหาวิทยาลัยครบถ้วน

                4.5   ได้ดำเนินการเพื่อขอรับอนุปริญญาตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
 
1.10 เอกสารแนบ    
   
  • Move (F6)
  • Copy
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_10
 
Name 
Date modified 
Size 
มคอ2.pdf
15/03/2019 10:29:034.25 MB
เอกสารการประชุม.pdf
28/11/2018 10:19:491.13 MB